รวยอย่างมหาเศรษฐี Donald Trump

How to get rich เรื่องราวที่จะนำเสนอในวันนี้นำมาจากหนังสือเรื่อง How to Get Rich เขียนโดย Donald Trump มหาเศรษฐีชั้นนำของสหรัฐอเมริกา ซึ่งประสบความสำเร็จสูงสุดจากการทำธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ อีกทั้งยังเป็นเจ้าของตึก Trump Tower กลางใจนครนิวยอร์ค เจ้าของโรงแรมระดับห้าดาวหลายแห่ง และสนามกอล์ฟที่ยิ่งใหญ่ของสหรัฐอเมริกา และที่เหนือไปกว่านั้น หนังสือที่เขาเขียนหลายเล่มล้วนเป็นหนังสือขายดีติดอันดับหนึ่ง เช่น The Art of The Deal, Surviving on the Top เป็นต้น เรื่องราวในหนังสือเล่มนี้ถูกนำมาจากประสบการณ์ที่กลั่นกรองแล้ว และปรัชญาในการใช้ชีวิตของ Donald Trump ที่นำเขาไปสู่จุดสูงสุดในชีวิต ประเด็นสำคัญมีดังต่อไปนี้
1. ถ้าจะคิด ให้คิดถึงแต่สิ่งที่ก้าวหน้าและยิ่งใหญ่ (Think Big) เมื่อคิดจะทำสิ่งใดต้องคิดและคาดหวังถึงสิ่งที่ยิ่งใหญ่ กว้างไกล ท้าทาย และต้องใช้ความพยายามเป็นอย่างมากที่จะทำให้เป็นจริง สิ่งเหล่านี้จะเป็นการสร้างโอกาสในการดึงศักยภาพและความสามารถของตนเองออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์ และทำให้ชีวิตมีคุณค่า ชีวิตมีสีสัน มีเป้าหมาย และเต็มไปด้วยความหวัง เมื่อนั้นพลังจิตและพลังสมาธิจะรวมเป็นหนึ่ง ก่อให้เกิดเป็นแรงผลักดันเพื่อมุ่งไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ เมื่อมีเป้าหมายแล้ว หากจะประสบความสำเร็จ ต้องมีองค์ประกอบ 3 ประการ ดังนี้

1.1) ต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์และสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัวว่า เอื้อประโยชน์หรือเป็นอุปสรรคต่อการทำธุรกิจของเรามากน้อยแค่ไหน เช่นสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในประเทศ เศรษฐกิจทั่วโลก งบประมาณในการลงทุน บุคลากรในบริษัท สถานการณ์ของบริษัทคู่แข่ง และคุณภาพสินค้าของเรา เป็นต้น นอกจากนี้ ยังต้องมีการศึกษาข้อมูลต่าง ๆ จากหนังสือ ที่เกี่ยวกับประวัติหรือแนวทางการดำเนินธุรกิจของผู้ที่ประสบความสำเร็จในด้านต่าง ๆ เพื่อศึกษากลยุทธ การบริหาร การบริการ และนำมาประยุกต์ใช้กับธุรกิจของเรา และที่สำคัญต้องให้เวลากับตัวเอง เช่น นั่งเงียบ ๆ ในที่สงบ ๆ เพื่อทบทวนระบบความคิดและวิธีการบริหารของเราอย่างสม่ำเสมอ และเมื่อพิจารณาอย่างถ้วนถี่ถึงยุทธวิธีในการบริหารแล้ว จึงลงมือกระทำและประสานงานให้ลูกน้องปฏิบัติตาม ดังนั้น ผู้บริหารในมุมมองของ Donald Trump คือผู้ที่ชี้ให้คนในองค์กรเห็นถึงทิศทางในการดำเนินงานและสามารถชักนำองค์กรไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ได้

1.2) ต้องมีความอุตสาหะบากบั่น ทำงานหนัก และอดทนเมื่อเผชิญหน้ากับอุปสรรค เพราะการทำธุรกิจที่ไม่มีอุปสรรคถือว่าไม่ใช่การทำธุรกิจ และต้องคิดว่าอุปสรรคเป็นเรื่องธรรมดาที่ต้องเผชิญ เมื่อคิดได้เช่นนี้ความเครียดจะไม่เกิด ทำให้มองปัญหาได้ชัดเจน จัดลำดับความสำคัญก่อนหลังของปัญหาได้ Donald Trump จะคิดอยู่เสมอว่าการจะประสบความสำเร็จได้นั้น ต้องเกิดจากความพยายามอย่างแน่วแน่ ไม่มีการรอคอยโชคชะตามาดลบันดาล ไม่มีทางลัด ทุกอย่างได้มาจากความพยายามและน้ำพักน้ำแรงอย่างแท้จริง

1.3) ไม่ปล่อยให้ความคิดในแง่ลบ เข้ามาครอบงำจิตใจ Donald Trump กล่าวไว้ว่า การมองสิ่งต่าง ๆ ให้มองในแง่บวก กว่าจะมาถึงวันนี้เขาได้รับสิ่งดี ๆ อะไรบ้าง มองแต่สิ่งดีงามที่เกิดขึ้นในชีวิต เพราะการคิดในแง่ลบเป็นบ่อเกิดแห่งความไม่สบายใจ ความอึดอัด ความทุกข์ใจ ความเครียด ความกังวล ซึ่งจะบั่นทอนทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต จึงต้องรีบกำจัดทิ้ง Donald Trump ได้อุปมาอุปไมยไว้ว่า เราจะบินได้อย่างไร หากเราหักปีกของเราไปเสียก่อนแล้ว ซึ่งความคิดในแง่ลบดังกล่าวนั้น ล้วนเกิดมาจากความกลัวและความกังวลใจ แต่เราสามารถเอาชนะได้ด้วยการมีข้อมูลที่ครบถ้วน เพราะทำให้มีความมั่นใจและกล้าที่จะตัดสินใจ ดังนั้น ก่อนทำสิ่งใดต้องมีการศึกษาข้อมูลและพิจารณาอย่างรอบคอบเสียก่อน แล้วจึงลงมือกระทำ Donald Trump มีวิธีการมองโลกในแง่บวกคือ จดคำคมของเหล่าบรรดานักปราชญ์ หรือนักคิดต่าง ๆ ของโลก เช่น คำคมจากผู้ที่เป็นบิดาของเขาคือ Fred Trump จะต้องรู้ทุกสิ่งทุกอย่างที่คุณกำลังทำอยู่ (Know everything you can about what you’re doing) หรือคำคมจากรัฐบุรุษและบุคคลชั้นนำของโลก อาทิ
- นโปเลียน ความทุกข์ยากลำบากอย่างแสนสาหัส เป็นสิ่งที่จะต้องเผชิญ ดังนั้น จึงไม่มีสิทธ์ที่จะคิดกังขาหากคิดที่จะเป็นผู้นำ (A leader has a right to be beaten but never the right to be surprised)
- อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ จินตนาการมีค่ามากกว่าความรู้ (Imagination is more important than knowledge) หมายถึงการศึกษาเล่าเรียนจากตำราต่าง ๆ ไม่ได้ทำให้คนฉลาด หากขาดจินตนาการ

- วินสตัน เชอร์ชิล นายกรัฐมนตรีของอังกฤษ การดึงศักยภาพที่แท้จริงของมนุษย์ออกมานั้น ทำได้โดยการทำงานหนักอย่างต่อเนื่อง (Continuous effort,not strength or intelligence,is a key to unlocking our potential)

- และตัวอย่างคำคมของไทยคือ ก้าวเถิดก้าวต่อไปไกลที่สุด มิพึงรั้งยั้งหยุด ณ จุดไหน แม้นขวากหนามขวางกั้นจะหวั่นไย แสงเรื่องไรแห่งหวังสิรังรอง
2. หลักในการทำธุรกิจของ Donald Trump

2.1) ก่อนจะทำธุรกิจต้องตั้งคำถามว่า มีใครอีกไหมในวงการ ที่ผลิตสินค้าหรือบริการได้ดีกว่าเรา ถ้าพบว่ามี ให้ถามต่อไปว่า แล้วเขามีช่องโหว่ หรือจุดด้อยตรงไหน ที่เราจะเข้าไปแทนที่ได้บ้าง

2.2) อย่ามัวหลงไปกับความคิดที่ล่องลอย แต่จะต้องดูว่าที่วาดฝันในอากาศนั้น มันทำได้จริงหรือไม่ และเราลงมือกระทำแล้วหรือยัง

2.3) มองหาบุคลากรที่เก่งมีความสามารถ และมีทัศนคติที่เหมาะสมกับงานของเรา และเมื่อประสบปัญหาระหว่างผู้ร่วมงานให้คิดว่าเป็นเรื่องธรรมดาที่อย่างไรก็ต้องเกิด และในฐานะผู้บริหารต้องพยายามแก้ไข และประสานความสัมพันธ์ให้ได้ ดังนั้น การคัดเลือกคนเป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลาและต้องผ่านการพิจารณาอย่างถ้วนถี่ เพราะการไล่คนออกแต่ละครั้งจะกระทบกระเทือนต่อขวัญและกำลังใจของพนักงาน ซึ่งจะส่งผลไปสู่คุณภาพของงานได้

2.4) ต้องมีใจจดจ่อกับการรักษาคุณภาพของสินค้าและบริการให้สูงที่สุดเหนือผู้อื่นและคงอยู่ให้นานที่สุด และไม่ยอมให้ปัญหาส่วนตัวมามีผลกระทบต่อการทำงานโดยเด็ดขาด

2.5) ในฐานะผู้บริหารต้องศึกษารายละเอียดทุกอย่างเพื่อให้รู้ถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้น หากเกิดปัญหาจะได้แก้ไขได้อย่างทันท่วงที อย่าคิดว่าตัวเองเก่งแก้ปัญหาได้หมด เพราะเป็นการประมาทและอาจทำให้มองข้ามในจุดเล็ก ๆ ไป ซึ่งบางครั้งก็เป็นต้นเหตุของปัญหาใหญ่ ๆ ได้อย่างที่เราคาดไม่ถึง

2.6) หากรักที่จะก้าวไปอยู่จุดสูง ต้องมีจิตใจที่มั่นคง ไม่หวั่นไหวต่อสิ่งที่เข้ามากระทบ และเมื่อประสบความสำเร็จแล้วต้องรักษาความสำเร็จนั้น ๆ ให้ต่อเนื่องและยาวนานได้ โดยต้องอาศัยลูกน้องที่เก่ง ๆ และมีความรักในองค์กร และที่สำคัญผู้บริหารเองต้องแสดงออกให้ลูกน้องเห็นถึงความกระตือรือร้น และมีไฟในการทำงานอยู่เสมอ เพื่อให้ลูกน้องเกิดแรงบันดาลใจและนำไปเป็นแบบอย่าง

3. การปฏิบัติตนต่อลูกน้องตามหลักของ Donald Trump

3.1) ต้องกำหนดแบบแผนในการทำงานอย่างชัดเจนว่า ผลสุดท้ายองค์กรต้องการอะไรบ้างจากตำแหน่งนี้ และจะมีวิธีการวัดผลอย่างไร และมีขั้นตอนอย่างชัดเจนว่าหากลูกน้องอยากจะก้าวหน้าต้องทำอย่างไรบ้าง

3.2) Donald Trump กล่าวไว้ว่า ลูกน้องที่ดีนั้นต้องมีความทะเยอทะยาน และมีความภูมิใจในงานที่ทำอยู่เห็นคุณค่าของงานที่กำลังทำ มีการประหยัดค่าใช้จ่ายให้กับบริษัทประหนึ่งว่าเงินบริษัทเป็นเสมือนเงินของตนเอง และวิธีที่จะทดสอบลูกน้องคือ ให้อำนาจแก่ลูกน้องมาก ๆ เพราะมนุษย์เมื่อมีอำนาจอยู่ในมือ นิสัยดั้งเดิมจะผุดออกมาให้เห็น ผู้บริหารจะต้องดูว่าคน ๆ นั้นเมื่อมีอำนาจแล้ว จะใช้เหตุผลในการตัดสินใจหรือไม่ หรือใช้อำนาจบาทใหญ่ข่มเหงผู้อื่น ซึ่งวิธีนี้สามารถนำไปใช้พิจารณาการเลื่อนตำแหน่งของพนักงานได้ และต้องพยายามรักษาลูกน้องที่ดีให้อยู่กับองค์กรให้นานที่สุด เพราะลูกน้องที่ดีเพียงร้อยละ 20 จะสามารถสร้างรายได้ให้กับองค์กรได้ถึง ร้อยละ 80 ของรายได้ทั้งหมด

3.3) Donald Trump เลือกที่จะส่งเสริมลูกน้องคนใดนั้น โดยประเมินจาก ความรับผิดชอบในหน้าที่ ความมุ่งมั่นในการทำงาน คุณภาพงานไม่มีด่างพร้อย มีความรักในองค์กร เห็นได้จากตัวอย่างคือ ลูกน้องคนสนิทที่เป็นมือซ้ายของ Donald Trump นั้น เคยเป็นยามรักษาความปลอดภัยมาก่อนซึ่งไม่มีพื้นฐานเกี่ยวกับการบริหารมาก่อนเลย แต่มีความตั้งใจในการทำงาน Donald Trump ก็เปิดกว้างยินดีที่จะรับเข้ามาฝึกงาน และถ้าทำงานดีเขาก็ไม่เกี่ยงที่จะสนับสนุนจนเป็นถึงผู้บริหารระดับสูง สิ่งนี้ Donald Trump แสดงให้เห็นว่า คนที่จะได้รับการสนับสนุนนั้นไม่ได้ประเมินจากแค่ระดับการศึกษาแต่เพียงอย่างเดียว

3.4) Donald Trump จะกระตุ้น และให้กำลังใจลูกน้องอยู่ตลอดเวลาว่า คุณจะต้องทำได้ คุณจะต้องประสบความสำเร็จ เพื่อเป็นแรงขับเคลื่อนในการผลิตผลงานให้กับองค์กร

4. ลูกน้องควรจะปฏิบัติตนอย่างไร จึงจะก้าวหน้าในหน้าที่การงาน

4.1) การเสนอผลงานหรือแนวความคิดแก่เจ้านายต้องสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และตรงประเด็นเพราะเวลาของผู้บริหารนั้นทุกนาทีมีค่า และต้องบอกได้ว่าที่เสนอไปนั้นมีข้อดีอย่างไร และหากเจ้านายไม่เห็นดีด้วยก็ไม่จำเป็นต้องตีโพยตีพาย เพราะบางทีอาจจะมีข้อจำกัดบางอย่างที่ทำให้ไม่สามารถอนุมัติได้ แต่หากเจ้านายไม่ยอมรับบ่อยครั้งเข้า ให้มองย้อนกลับมาว่าเรามีวิสัยทัศน์แคบไปหรือเปล่า หรือเรามองข้ามอะไรไปไหม และครั้งต่อไปก่อนจะนำเสนอให้ถามตัวเองก่อนว่าถ้าเราเป็นเจ้านาย เราจะเห็นด้วยกับแนวความคิดนี้หรือไม่ แต่ถ้าเราเองยังไม่แน่ใจ ให้เลื่อนการนำเสนอไปก่อนและหาข้อมูลเพิ่มเติมตรงจุดที่ไม่แน่ใจ แล้วจึงค่อยนำเสนอ

4.2) ลูกน้องที่อยากจะประสบความสำเร็จต้องระมัดระวังกิริยาท่าทาง ภาพพจน์ต้องดี ต้องมีภาพของลูกน้องที่อดทน ขยันทำงาน มีความมุ่งมั่น การสร้างภาพนั้นไม่ผิดถ้าเราทำได้จริงอย่างที่สร้าง แต่ถ้าได้แต่สร้างภาพแต่ไม่ทำ ถือว่าเป็นการหลอกลวง และลูกน้องที่ดีหากเกิดอุปสรรคต้องไม่โทษคนอื่น ไม่โทษสิ่งแวดล้อม เมื่อเกิดปัญหาก็ค่อย ๆ แก้ไขไปทีละอย่าง ด้วยความอดทน ไม่ย่อท้อ

4.3) ในการเสนอผลงานในแต่ละครั้งต้องคาดการณ์ล่วงหน้าว่าจะเกิดอุปสรรคอะไรบ้าง จะแก้ไขได้อย่างไรหากเจอในสถานการณ์จริง จะได้มีสติ และสามารถแก้ไขได้

4.4) เมื่อทำงานไปสักพักหนึ่ง คิดว่าคงไปไม่ไหว ก็ให้เปลี่ยนงาน แต่ต้องดูด้วยว่างานใหม่นั้นเหมาะกับเราจริงหรือไม่ เมื่อไปทำแล้วจะเจริญก้าวหน้าหรือไม่ และเหตุผลที่ออกจากที่เดิมคืออะไร หรือเกิดจากอารมณ์ล้วน ๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต้องมองให้ออก และการขอขึ้นเงินเดือนจากเจ้านายต้องดูทิศทางลมด้วย เพราะหากเข้าไปผิดเวลา นอกจากจะไม่ได้ขึ้นเงินเดือนแล้วอาจจะโดนตำหนิด้วย

5. กลยุทธในการเจรจาให้ประสบผลสำเร็จ ต้องพยายามโน้มน้าวจิตใจฝ่ายตรงข้ามให้ได้ โดยการพูดจา ท่าที ต้องแสดงออกด้วยความมั่นใจ ข้อเสนอทั้งหมดต้องครบถ้วน เต็มไปด้วยเหตุผลที่น่าเชื่อถือ หากเราเป็นอีกฝ่ายเมื่อฟังแล้วจะต้องไม่มีข้อโต้แย้งใด ๆ ดังนั้น การจะพูดอย่างนั้นได้ต้องมีการซ้อมพูดมาหลาย ๆ ครั้งก่อน เพื่อให้เกิดความคล่องแคล่ว ไม่ติดขัด และก่อนไปเจรจาต้องมีข้อมูลของฝ่ายตรงข้าม เช่น คน ๆ นี้ ส่วนใหญ่ใช้กลวิธีอะไรในการเจรจา และคน ๆ นี้ต้องการอะไรจากเรา และเราต้องการอะไร ต้องดูให้ออกทั้งหมดก่อนการไปเจรจา และในการเจรจาต้องไม่ลืมที่จะเชื่อความรู้สึกของตัวเอง หากพบว่าไม่ชอบมาพากลฝ่ายเรากำลังจะเสียเปรียบหรือโดนฝ่ายตรงข้ามบีบคั้นให้สรุปข้อตกลงมากจนผิดปกติ ให้เลื่อนการสรุปผลไปก่อน หรือยกหัวข้อใหม่ให้ฝ่ายตรงข้ามไปหาข้อมูลเพิ่ม เพื่อเป็นการยืดเวลาในการตัดสินใจ และหากลวิธีใหม่ในการเจรจาต่

Three Key Survival Skills for New Business Owners

The first year of a new business is the toughest. It's the make-it-or-break-it year. The challenges a new business owner faces on a daily basis require three key survival skills: self-reliance, self-direction, and resilience. No matter how brilliant the business idea, without these three skills entrepreneurs risk failure.
  • Self-Reliance

It's a fact of life that every small business owner wears many hats to fill all functions: operations, sales, marketing, finance, human resources-even janitor and chief coffee-maker when needed. Unlike life in corporate America, where each employee has a specialized area of expertise, a new business owner must excel in all of the disciplines required to keep a small business running smoothly. The revenue drain of hiring employees can spell disaster for struggling new businesses.

Self-reliance means more than wearing many hats. It also means depending on self for motivation, discipline and decision making and accountability. The true entrepreneur doesn't need a cheering squad to keep going. The self-reliant business owner is highly skilled at "picking himself up by the boot straps." Without that all-important sense of self-reliance, critical decisions will be delayed and opportunities will be missed.

If you find yourself lacking self-reliance, do a total skills inventory to identify the gap that is holding your business back from prospering to your expectations. Rate yourself on a scale of one to four on each skill needed to run your business. Identifying which skills you are deficient in is the first step toward getting help to solve the problem.

  • Self-Direction

One of the toughest challenges for new business owners is strategic planning: the ability to plan for multiple contingencies to reduce risk of failure. The self-directed entrepreneur analyzes market conditions to anticipate setbacks and defines alternative revenue sources to avoid costly earnings slumps.

Equally important, the self-directed business owner should be efficient in executing daily, weekly and monthly activities crucial to maintaining a continual sales pipeline and revenue stream. A successful entrepreneur needs no supervisor to keep him on track.

Unfortunately, not many people excel at both strategic planning and day-to-day tactical efforts. If you are an entrepreneur who gravitates to "the big picture," daily and weekly task lists will help keep you on track toward your revenue goals. Invest in tools to minimize your busy work so that important data like customer contact information can be easily accessed, yet maintained with minimal effort.

On the flip side, highly detail-oriented business owners without a strategic plan suffer from lack of direction. Make time at least quarterly to consider questions like: "What could I do long-term to improve the efficiency of my operations?" or "What could I be doing differently to attract the kind of customers I prefer?"

  • Resiliency

While it is often true that persistence pays off, resiliency is a more essential skill to new business owners. Resiliency is the ability to change direction when needed. It is the 'bounce back" effect that is truly necessary to avoid business failure.

In business, change is constant:

* Economic conditions can reduce consumer spending

* Shifts in consumer tastes make your product out-of-date

* Improvements in technology make your inventory obsolete

Any or all of these things can mean increased competition and loss of market share for your business. You have to be prepared to deal with them--before they happen.

Those who lack resiliency fall victim to self doubt that all too often means the end of a promising new business. To increase resiliency, practice the old-fashioned skill of "getting back on the horse." When things don't work out as planned, do not stop to anguish over the situation. Immediately consider the best alternative actions to take. Take action as soon as possible. Even a less-than-perfect action plan will get you moving in a positive direction and avoid the stall of self doubt and despair.

A new business owner who builds up his or her self-reliance, self-direction and resiliency will greatly increase the odds of surviving that first year in business. And after the first year, your survival skills will ensure that you are well on your way to many more years of success. credit by Deborah Walker