9 กลยุทธ์ในการดำเนินชีวิต

ชีวิตที่จะประสบความสำเร็จไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องอาศัยเคล็ดลับขั้นตอนต่าง ๆ มากมาย และเป็นความจริงที่ว่าเราเป็นผู้กำหนดชะตาชีวิตของเราเอง เป็นคนเลือกเส้นทางชีวิต และนั่นคือสิ่งที่ยากที่สุด เพราะไม่มีใครรู้ว่าเส้นทางที่กำลังเดินนั้นจะนำเราไปสู่เป้าหมายที่เราต้องการรึเปล่า ถ้าเป็นเช่นนั้น การที่เรารู้กฎเกณฑ์การใช้ชีวิต จะช่วยให้เราได้รับประโยชน์สูงสุดจากเวลาทุก ๆ นาที เพราะกฎเหล่านี้เปรียบเสมือนแผนที่ชีวิตในการใช้เวลา เพื่อเลือกลงมือทำในสิ่งที่สำคัญตรงตามเป้าหมายในชีวิตของเรา

กฎข้อ 1 เราคือ คนเลือกที่จะเป็นผู้ประสบความสำเร็จ หรือผู้ที่ล้มเหลว
ถ้าเราสังเกตดูดี ๆ จะพบกับความจริงที่ว่า ในชีวิตเรามีเส้นทางให้เราเลือกเดินเพียง 2 ทางเท่านั้น คือ เส้นทางที่นำไปสู่ความสำเร็จ กับเส้นทางที่นำเราไปสู่ความล้มเหลว สำหรับเส้นทางสู่ความสำเร็จไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ และไม่มีคำว่า " บังเอิญ " สำหรับความสำเร็จ แต่ต้องการอาศัยความพากเพียรอย่างหนักและต่อเนื่อง ซึ่งคนส่วนใหญ่ก็มักจะยอมแพ้เสียก่อน ดังนั้น ถ้าเราเลือกเส้นทางที่นำเราไปสู่ความสำเร็จ วิธีที่ง่ายที่สุด คือ ศึกษาว่า ผู้ที่ประสบความสำเร็จเขามีเส้นทางในการดำเนินชีวิตอย่างไร เช่น ถ้าอยากเป็นนักธุรกิจ ก็ต้องมีการศึกษาเก็บข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจที่เราทำอย่างละเอียดลุ่มลึก เป็นต้น สำหรับบางคนที่คิดว่าตัวเองได้พยายามแล้วแต่ก็ยังล้มเหลวอยู่ ขอให้ไตร่ตรองประเด็นที่จะกล่าวถึงอย่างละเอียด แล้วท่านเองคือผู้เลือกที่จะประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว
ลักษณะของผู้ที่ล้มเหลว
1.
มีข้อมูลน้อยเกี่ยวกับเป้าหมาย เช่น ในการนำสินค้ามาขาย จำเป็นต้องมีความรู้ด้านการตลาด รู้จักกลุ่มเป้าหมาย รู้แนวโน้มของเศรษฐกิจ เพราะถ้าขาดความรู้ ขาดข้อมูลที่ถูกต้อง ทันสมัย โอกาสที่จะล้มเหลวก็ย่อมเกิดขึ้นได้ง่าย
2.
ขาดทักษะในการเข้าใจผู้อื่น ซึ่งมีกฎเกณฑ์ตายตัวที่มนุษย์ทุกคนรู้สึกเช่นเดียวกัน ดังนี้
1.
สิ่งที่มนุษย์ทุกคนกลัวมากที่สุด คือ กลัวการถูกปฏิเสธ ฉะนั้นเมื่อคนที่เราต้องคบค้าติดต่อ ขออะไรแล้วเราให้ได้ยอมได้ก็ควรให้ เพื่อรักษามิตรภาพเอาไว้
2.
สิ่งที่มนุษย์ทุกคนต้องการมากที่สุด คือ ต้องการเป็นที่ยอมรับให้เกียรติจากผู้อื่น ต้องการ รู้สึกว่าตัวเองมีความสำคัญ และเคารพในความเป็นมนุษย์
3.
มนุษย์ทุกคนมองทุกเรื่องจากมุมมองของประโยชน์ส่วนตัว ซึ่งไม่ใช่เฉพาะเรื่องเงินทอง อาจเป็นเรื่องอุดมการณ์ ดังนั้น เมื่อเราต้องการให้ใครทำงานอะไร ต้องชี้ให้เขาเห็นว่าจะได้รับประโยชน์อะไรจากการทำงานนั้น ๆ
4.
มนุษย์ทุกคนจะทำงานได้เต็มที่ต่อเมื่อเข้าใจในสิ่งที่จะต้องทำ เพราะถ้าเขาไม่เข้าใจต่อให้เขาอยากทำก็ทำไม่ได้ ก่อให้เกิดความขัดข้องใจ ดังนั้น วิธีการให้งานควรบอกรายละเอียดให้ชัดเจนเพราะลูกน้องไม่ว่าจะเก่งเพียงไร ก็ไม่อาจอ่านใจเจ้านายได้ และลึก ๆ ไม่มีลูกน้องคนไหนไม่อยากให้งานออกมาไม่ดี
5.
เวลามองคนให้มองในเรื่องคุณภาพ มองที่ความรู้ความสามารถ เราไม่ควรมองคนแค่ภายนอกหรือชาติวงศ์ตระกูล
6.
คนเรามักไว้วางใจบุคคลที่รักชอบพอเรา เวลาเราไม่เกลียดใครเขาก็จะไว้วางใจเรา แต่เมื่อไหร่ที่เรารู้สึกอิจฉาริษยา อีกฝ่ายก็ไม่ไว้ใจเรา เพราะจิตอีกดวงหนึ่งสามารถรู้สึกได้ บางครั้งไม่สามารถอธิบายเป็นคำพูดได้ แต่จะมีความรู้สึกอึดอัดเกิดขึ้น
7.
มองคนให้ลึกถึงจิตใจ โดยใช้ความรู้สึกของเราเป็นเครื่องตรวจสอบ เพราะมนุษย์ทุกคนมีหน้ากาก หลายชั้น ดังนั้นเราไม่ควรมองคนแค่ภายนอก เพราะคนที่หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใสพูดจาดี แต่อาจมีจิตใจโหดร้ายก็ได้หรือบางคนหน้าตาเรียบเฉย แต่ในใจเขาอาจดีก็ได้ ดังนั้น เราต้องมองคนที่จิตใจมิใช่เพียงหน้าตา

กฎข้อ 2 เราคือผู้สร้างประสบการณ์ให้ตัวเราเอง
เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าสถานการณ์จะเลวร้ายขนาดไหน เราก็ยังคงเป็นผู้เลือกที่จะสุขหรือทุกข์ต่อเหตุการณ์หนึ่ง ๆ ฉะนั้น ถ้าเราอยากมีความสุข เราจะไม่ปล่อยให้สถานการณ์ภายนอกควบคุมพฤติกรรม ความคิด ความรู้สึกของเรา เพราะเราคนเดียวเท่านั้นที่มีสิทธิ์เลือกที่จะ " สุข " หรือ " ทุกข์ "
ดังนั้น เราทุกคนมี เสรีภาพในการเลือก บนโลกใบนี้มีทางเลือกให้เราเลือกมากมาย แต่คนส่วนใหญ่มักคิดว่าทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีการเปลี่ยนแปลง จึงไม่กล้าที่จะเลือกเส้นทางใหม่ ๆ สร้างประสบการณ์ใหม่ ๆ ให้ชีวิต ซึ่งความจริงแล้วเราสามารถเลือกได้ตลอด เช่น ในหนึ่งวัน เราก็เลือกได้ว่าจะไปไหน ทำอะไร ให้ความสนใจอะไร สมมติถ้าเราอยู่กับคน 100 คนเราก็เลือกได้ว่าจะเลือกไว้วางใจใคร ฟังใคร ไม่สนใจใคร จะเห็นด้วย หรือจะคัดค้านในใจ เป็นต้น

กฎข้อ 3 ปฏิกิริยาต่างตอบแทน
อาจมีคนสงสัยว่า เราจะเลือกประสบการณ์ของเราได้จริง ๆ หรือ คำตอบก็อยู่ในกฎข้อนี้ คือ ขึ้นอยู่กับหลักต่างปฏิบัติ ต่างตอบแทนเท่าเทียมกัน เช่น เมื่อมีคนพูดจาไม่ดีกับเรา แล้วเราพูดกับเขาอย่างไร เราเลือกที่จะโต้ตอบในแบบเดียวกับเขา หรือ เลือกที่จะพูดอ่อนหวานกลับไป แน่นอนประสบการณ์ที่เราเลือก ก็คือผลจากการกระทำของเรานั่นเอง ดังนั้น ถ้ามองดี ๆ ตัวเราเองเป็นคนเชื้อเชิญปฏิกิริยาภายนอก เช่น เราไม่ยิ้มให้ เขาก็ไม่ยิ้มให้เรา เป็นต้น และแต่ละคนก็จะมีวิธีการปฏิบัติกับผู้อื่น ที่แตกต่างกันไป เพื่อช่วยให้หายสงสัยว่าทำไมโลกจึงได้ปฏิบัติกับคุณในแบบต่าง ๆ ขอยกตัวอย่างคนประเภทต่าง ๆ เช่น
คนที่คิดว่าตัวเองสำคัญที่สุด มักจะเป็นคนไม่มีน้ำใจ ซึ่งทำให้เพื่อน ๆ ไม่ค่อยชอบ และเมื่อไหร่ที่คนประเภทนี้พบกับความทุกข์ก็จะไม่มีใครเข้ามาให้กำลัง เพราะท่านไม่เคยใส่ใจ หรือใยดีใคร
คนที่คิดว่าตัวเองไม่ได้รับการไว้วางใจจากคนอื่น ๆ ซึ่งเป็นไปได้ว่า คนเหล่านี้ทำตัวเป็นคนอ่อนแออยู่ตลอดเวลา บ่นถึงปัญหาส่วนตัว ร้องไห้เสียใจ เมื่อคนอื่นเห็นก็เกิดความไม่ไว้วางใจ จึงไม่มอบหมายงานให้เรา เพราะพฤติกรรมของเราเองคือตัวกำหนด
คนที่คิดว่าตัวเองไม่เคยได้รับการช่วยเหลือ คนเหล่านี้มักมีลักษณะ เป็นพวกหนีปัญหาไปวัน ๆ ใช้ชีวิตเรื่อยเปื่อย ไม่คิดแก้ปัญหาของตัวเองอย่างจริงจัง ซึ่งตามปกติคนเราจะช่วยเหลือคนที่ช่วยเหลือตัวเองอย่างที่สุดก่อน ดังนั้น ถ้าเรายังไม่สามารถดึงศักยภาพในตัวมาใช้แก้ปัญหาแบบสุด ๆ ก็อย่าหวังได้รับความช่วยเหลือจากผู้อื่น และยังใช้ชีวิตไปเรื่อยเปื่อย หรือหนีปัญหาไปวัน ๆ

กฎข้อ 4 จะแก้ไขปัญหาได้ต่อเมื่อเรายอมรับความจริงได้
ทางเดียวที่จะแก้ปัญหาได้ คือ การยอมรับว่าเกิดปัญหา ซึ่งคนส่วนใหญ่มักไม่กล้ามองปัญหา ไม่กล้ายอมรับว่าตัวเองคือสาเหตุของปัญหา นอกจากปัญหาจะไม่ได้รับการแก้ไขแล้ว ก็เหมือนยิ่งไปสร้างปมปัญหาใหม่เพิ่มขึ้นอีก ความทุกข์นั้นก็ยังแต่จะก่อให้เกิดความทุกข์ต่อไป เช่น เป็นผู้บริหารแต่ไม่ยอมรับว่า ตัวเองบริหารงานไม่เก่ง ก็ย่อมทำให้บริษัทขาดทุน แต่ถ้ายอมรับได้ ก็จะเกิดทางแก้ไข อาจไปจ้างมืออาชีพมาทำแทน เป็นต้น ดังนั้น การกล้าที่จะยอมรับความจริง คือ การเริ่มต้นแก้ปัญหา

กฎข้อ 5 ชีวิตนี้ให้รางวัลกับการกระทำเสมอ
มีคนจำนวนมากที่รู้สึกว่าตัวเอง เป็นนักคิดที่ชาญฉลาดแต่ทำไมชีวิตยังอยู่ห่างจากเป้าหมายที่ต้องการเหลือเกิน นั่นเป็นเพราะ คุณไม่เคยลงมือทำ และเป็นความจริงที่ว่า โลกใบนี้ไม่สนใจคนที่มีความคิดดี แต่จะสนใจการกระทำที่ดีมากกว่า ดังนั้น ถ้าคุณมีความคิดดี ๆ เมื่อไหร่การลงมือทำ เป็นหนทางเดียวที่จะทำให้คุณได้ในสิ่งที่คุณต้องการ
สำหรับบางคนที่คิดอย่างรอบคอบแล้ว แต่ยังไม่มีแรงหรือกำลังมากพอที่จะสานฝันให้กลายเป็นจริง ทางแก้ คือ ให้ถามตัวเองทุกวันว่า ตอนนี้อายุเท่าไหร่แล้ว ? เหลือเวลาในชีวิตอีกกี่ปี ? ถ้าไม่รีบลงมือตอนนี้อาจไม่ทันการณ์ ?
และถ้าคุณคิดว่าสิ่งที่จะทำมันยาก จึงทำให้คุณเกิดความกลัว ไม่กล้าลงมือทำ แสดงว่าคุณยังขาดความเข้าใจว่า ชีวิตนี้เป็นเรื่องยาก แต่ไม่มีสิ่งใดที่ยากเกินความสามารถถ้าคุณปรารถนาสิ่งนั้นจริง ๆ

กฎข้อ 6 ทุกสิ่งทุกอย่างขึ้นอยู่กับมุมมองของเรา ให้รับรู้อย่างเดียว
เราเป็นคนเลือกที่จะให้ความหมายกับชีวิตของเราเอง เพราะทุกสิ่งทุกอย่างที่เราเห็น หรือคิด เป็นเพียงสิ่งที่มนุษย์สมมติขึ้น และความทุกข์จริง ๆ ก็ไม่มี มีแต่ความคิดของเราที่ตีความเหตุการณ์ต่าง ๆ ดังนั้น ถ้าเราอยากให้ชีวิตเราเต็มไปด้วยความสุข เราก็เลือกมองแต่เรื่องดี ๆ งาม ๆ แทนการมองโลกในแง่ร้าย ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่คนส่วนใหญ่ใช้ตีความต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งมีวิธีการสร้างมุมมองแบบ Positive ง่าย ๆ ดังนี้
เขียนบันทึกสิ่งดีงามที่เกิดขึ้นกับคุณในแต่ละวัน ถึงแม้จะเป็นเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ตาม เช่น ตื่นมารู้สึกดีที่วันนี้ ฝนไม่ตก เป็นต้น
ค้นหาความหมายใหม่ ๆ ให้กับชีวิตอยู่เสมอ ๆ ซึ่งจะช่วยทำให้เรามีพลังชีวิตมากขึ้นอีกด้วย เช่น มีชีวิตอยู่เพื่อเป็นความหวังให้พ่อแม่ เป็นต้น

กฎข้อ 7 ชีวิตต้องการการบริหารจัดการจะปล่อยไปตามชะตากรรมไม่ได้
คนส่วนใหญ่มักตามแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน โดยมองข้ามความจริงที่ว่า ชีวิตต้องการการจัดการ ควรมีการวางแผนทั้งระยะสั้นและระยะยาว เพื่อป้องกันปัญหาไว้ล่วงหน้า ในการวางแผนเราต้องพูดคุยกับผู้จัดการชีวิตของเรา ซึ่งก็คือ ตัวเราเอง โดยการตั้งคำถามกับตัวเอง ดังนี้
เราได้เคยค้นหาและดึงเอาศักยภาพสูงสุดของเราออกมาใช้เพื่อก่อประโยชน์หรือยัง ?
เราเคยหาทางสร้างโอกาสใหม่ ๆ ให้กับชีวิตหรือไม่ ?
เราเป็นคนที่อดทนต่อปัญหาอย่างเดียว หรือแก้ปัญหาได้ด้วย ?
ซึ่งเป็นธรรมดาที่คนที่กล้าแก้ปัญหาต้องกล้าที่จะตัดสินใจและรับผิดชอบต่อผลที่จะเกิดขึ้น จึงเป็นสาเหตุให้คนส่วนใหญ่เลือกที่จะอยู่สบาย ๆ ซึ่งก็หมายความว่า คุณเลือกที่จะเป็นผู้แพ้ แต่ถ้าคุณพอใจกับสถานะดังกล่าวก็ไม่มีใครสามารถไปเปลี่ยนแปลงคุณได้

กฎข้อ 8 พลังอำนาจของการให้อภัย
ในบรรดาอารมณ์ทั้งหมดของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็น ความรู้สึกเบื่อ ความรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจ เป็นต้น ความโกรธ คืออารมณ์ที่ทรงพลังและทำให้มนุษย์เป็นทุกข์มากที่สุด ซึ่งเปรียบเสมือนการจุดไฟเผาผลาญตัวเอง จะรู้สึกร้อนรนอยู่ตลอดเวลา ทำให้ผู้ที่ตกอยู่ในกองเพลิงแห่งความโกรธเกลียดอาฆาต หมดพลังงานไปอย่างเปล่าประโยชน์ ซึ่งถ้ายังไม่สามารถออกจากกองไฟแห่งความอาฆาตนี้ได้ ในที่สุดจะพบว่าคุณได้เผาผลาญโอกาสแห่งความสำเร็จของคุณหมดไปแล้ว ตอนนี้เหลือเพียงที่ว่างสำหรับความล้มเหลวเท่านั้น ดังนั้น ถ้าคุณไม่อยากทำลายชีวิตตัวเองด้วยความโกรธ ก็จงมอบความรักให้กับคนอื่น ๆ บ้าง ก็เพราะ ความอาฆาตพยาบาท เป็นสิ่งที่ละวางได้ยากมาก การให้อภัยจึงเป็นหลักการสำคัญสำหรับความเป็นผู้นำ

กฎข้อ 9 คนเราจะได้อะไรมาอย่างน้อย ๆเราต้องรู้จักสิ่งนั้นก่อน ต้องเรียกมันให้ถูกก่อน
คนที่จะประสบความสำเร็จได้ขั้นแรก ต้องรู้จัดตัวเองเป็นอย่างดี จึงจะรู้ว่า ตัวเองต้องการอะไรจากชีวิต ในการสร้างอนาคตให้ตัวเอง จำเป็นต้องสร้างเป็นภาพ ต้องเห็นภาพตัวเองในอนาคตให้ได้ จึงจะรู้ว่าตัวเองต้องการอะไร ซึ่งความต้องการหรือเป้าหมายในชีวิตของแต่ละคนย่อมแตกต่างกันไป บางคนอยากเป็นนักการเมือง บางคนอยากเป็นเจ้าของโรงแรม เป็นต้น สำหรับการหาcore value มีอยู่ 2 ประเภท คือ ตามกระแส หรือทวนกระแส ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล ดังนั้น หัวใจสำคัญที่จะทำให้คนประสบความสำเร็จ คือ การรู้จักตัวเอง เพราะถ้าคุณวางแผนชีวิตอย่างดี แผนนั้นอาจทำให้คุณหลงทางเป็น สิบ ๆ ปีก็ได้ถ้าคุณขาดความเข้าใจตัวเอง

Three Key Survival Skills for New Business Owners

The first year of a new business is the toughest. It's the make-it-or-break-it year. The challenges a new business owner faces on a daily basis require three key survival skills: self-reliance, self-direction, and resilience. No matter how brilliant the business idea, without these three skills entrepreneurs risk failure.
  • Self-Reliance

It's a fact of life that every small business owner wears many hats to fill all functions: operations, sales, marketing, finance, human resources-even janitor and chief coffee-maker when needed. Unlike life in corporate America, where each employee has a specialized area of expertise, a new business owner must excel in all of the disciplines required to keep a small business running smoothly. The revenue drain of hiring employees can spell disaster for struggling new businesses.

Self-reliance means more than wearing many hats. It also means depending on self for motivation, discipline and decision making and accountability. The true entrepreneur doesn't need a cheering squad to keep going. The self-reliant business owner is highly skilled at "picking himself up by the boot straps." Without that all-important sense of self-reliance, critical decisions will be delayed and opportunities will be missed.

If you find yourself lacking self-reliance, do a total skills inventory to identify the gap that is holding your business back from prospering to your expectations. Rate yourself on a scale of one to four on each skill needed to run your business. Identifying which skills you are deficient in is the first step toward getting help to solve the problem.

  • Self-Direction

One of the toughest challenges for new business owners is strategic planning: the ability to plan for multiple contingencies to reduce risk of failure. The self-directed entrepreneur analyzes market conditions to anticipate setbacks and defines alternative revenue sources to avoid costly earnings slumps.

Equally important, the self-directed business owner should be efficient in executing daily, weekly and monthly activities crucial to maintaining a continual sales pipeline and revenue stream. A successful entrepreneur needs no supervisor to keep him on track.

Unfortunately, not many people excel at both strategic planning and day-to-day tactical efforts. If you are an entrepreneur who gravitates to "the big picture," daily and weekly task lists will help keep you on track toward your revenue goals. Invest in tools to minimize your busy work so that important data like customer contact information can be easily accessed, yet maintained with minimal effort.

On the flip side, highly detail-oriented business owners without a strategic plan suffer from lack of direction. Make time at least quarterly to consider questions like: "What could I do long-term to improve the efficiency of my operations?" or "What could I be doing differently to attract the kind of customers I prefer?"

  • Resiliency

While it is often true that persistence pays off, resiliency is a more essential skill to new business owners. Resiliency is the ability to change direction when needed. It is the 'bounce back" effect that is truly necessary to avoid business failure.

In business, change is constant:

* Economic conditions can reduce consumer spending

* Shifts in consumer tastes make your product out-of-date

* Improvements in technology make your inventory obsolete

Any or all of these things can mean increased competition and loss of market share for your business. You have to be prepared to deal with them--before they happen.

Those who lack resiliency fall victim to self doubt that all too often means the end of a promising new business. To increase resiliency, practice the old-fashioned skill of "getting back on the horse." When things don't work out as planned, do not stop to anguish over the situation. Immediately consider the best alternative actions to take. Take action as soon as possible. Even a less-than-perfect action plan will get you moving in a positive direction and avoid the stall of self doubt and despair.

A new business owner who builds up his or her self-reliance, self-direction and resiliency will greatly increase the odds of surviving that first year in business. And after the first year, your survival skills will ensure that you are well on your way to many more years of success. credit by Deborah Walker