JACK WELCH : สุดยอด CEO ระดับโลก

บทความที่นำเสนอมาจากหนังสือเรื่อง Control Your Destiny or Someone Else Will แต่งโดย Noel Tichy และ Stratford Sherman ว่าด้วยเรื่องประวัติความเป็นมาของแจ็ค เวลช์ (Jack Welch) ทั้งชีวิตส่วนตัวและหน้าที่การงานที่ทำให้เขาพลิกผันตนเองจนกลายเป็นผู้บริหารของบริษัทชั้นนำระดับโลก

คือ บริษัท จี อี และกลายเป็นCEO ที่มีค่าตัวสูงที่สุดในโลก ทั้ง ๆ ที่ในสมัยเด็ก แจ๊ค เวลช์ เคยเป็นคนที่พูดติดอ่างเสียด้วยซ้ำ แต่เขาก็ไม่เคยรู้สึกว่าตนเองมีปมด้อยเลยแม้แต่นิดเดียว เพราะเขามีคุณแม่ที่คอยให้กำลังใจตลอดเวลา คุณแม่ของเขาสอนว่า การที่เขาพูดติดอ่างเป็นเพราะว่า เขามีระบบความคิดที่พิเศษกว่าคนปกติและรวดเร็วเกินกว่าที่เขาจะพูดได้ทัน นอกจากจะมีคุณแม่คอยให้กำลังใจและปลูกฝังให้เป็นคนมองโลกในแง่ดีมาตั้งแต่เด็กแล้ว ปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลให้แจ็ค เวลช์ สามารถก้าวขึ้นมาสู่จุดสูงสุดได้มีดังต่อไปนี้

1. กฎทองคำ 6 ประการที่ทำให้แจ๊ค เวลช์ประสบความสำเร็จมาจนถึงปัจจุบัน ได้แก่

1)จงกำหนดชะตาชีวิตของท่าน มิฉะนั้นคนอื่นจะเป็นผู้มาบงการชีวิตของคุณ (Control your destiny ,or someone else will)

ควรกำหนดเป้าหมายชีวิตของตนเองให้ชัดเจนและแน่นอน เพราะถ้าตัวเราเองยังไม่รู้ว่าเรากำลังจะเดินไปทิศทางไหนแล้วนั้น จะทำให้เราไขว้เขวไปกับการท้วงติงและการตำหนิเตียนจากคนรอบข้าง หรือในทางกลับกัน ถึงแม้มีโอกาสต่าง ๆ มารออยู่ข้างหน้าเราก็จะไม่เห็นความสำคัญ และปล่อยให้โอกาสเหล่านั้นหลุดลอยไปโดยที่เราไม่รู้ตัว เพราะเราไม่รู้ว่าเรากำลังทำสิ่งใด เพื่ออะไร และเรากำลังอยู่ตรงจุดไหนของแผนที่ชีวิต นอกจากนั้น เมื่อเรามีเป้าหมายแล้วหากประสบกับอุปสรรคต่าง ๆ เราจะต้องไม่โทษผู้อื่นเพราะชีวิตนี้เป็นของเรา จะสุขหรือทุกข์เราจะต้องรับผิดชอบเอง สิ่งนี้จึงจะแสดงว่าเราเป็นผู้มีวุฒิภาวะ และสามารถกำหนดชะตาชีวิตของเราได้เองอย่างแท้จริง

2)จงมองความจริงตรงตามความเป็นจริง มิใช่ความเป็นจริงที่มันเคยเป็นมาแล้วในอดีต หรือความเป็นจริงที่คุณอยากให้มันเป็น (Live with the present reality as it is, not the kind of reality that used to be in the past or the reality that you want it to be)

คนที่จะประสบความสำเร็จได้นั้นจะต้องกล้าที่จะเผชิญหน้ากับความเป็นจริงทุกรูปแบบทั้งสมหวังและผิดหวัง และจะต้องอยู่กับปัจจุบันให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ โดยไม่ยึดติดกับเรื่องในอดีตหรือเพ้อฝันไปกับสิ่งที่เราคิดเข้าข้างตัวเองและอยากให้มันเป็น เพราะการที่เราอยู่กับความเป็นจริงในปัจจุบันจะทำให้เราเห็นเหตุและปัจจัยใหม่ ๆ ที่เข้ามาและสามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์นั้น ๆ เพื่อทำเป้าหมายที่ตั้งไว้ให้เป็นจริง

3)หากจะโน้มน้าวจิตใจคนไม่ควรใช้วิธีการบังคับขืนใจ แต่ควรเสนอมุมมองที่แตกต่างเพื่อกระตุ้นเตือนให้อีกฝ่ายได้คิด ซึ่งมุมมองเหล่านั้นจะต้องอยู่บนพื้นฐานของผลดีหรือผลเสียที่อีกฝ่ายจะได้รับ

ตัวอย่างเช่น อธิบายให้อีกฝ่ายเห็นโทษของการเป็นโรคเบาหวาน เนื่องจากการกินอาหารที่มีรสหวานจัดจนเกินไป แทนที่จะไปบังคับขู่เข็ญหรือว่ากล่าว เป็นต้น

4)จงมีความจริงใจและมีความตรงไปตรงมาต่อตนเองและผู้อื่น (Integrity)

การแสดงความตรงไปตรงมาจะต้องอยู่บนพื้นฐานของความถูกต้อง ไม่มุทะลุดุดันหรือพูดจาเป็นขวานผ่าซาก และปากกับใจต้องตรงกัน ถ้าไม่อยากพูดก็ไม่ต้องพูด และถ้าจะพูดหรือแสดงออกจะต้องออกมาจากความรู้สึกไม่ใช่จากความคิด (Speak from your heart, not from your head)

5)อย่าเปลี่ยนจุดยืนของตนเองโดยเด็ดขาดถ้าไม่จำเป็น

หลังจากที่เราคิดทบทวนทุกอย่างอย่างรอบคอบแล้ว เราจะต้องมุ่งมั่นทำสิ่งเหล่านั้นให้สำเร็จเป็นรูปธรรมให้จงได้ แต่ในระหว่างที่ดำเนินการ หากมีความคิดใหม่ ๆ เข้ามา เราต้องรับฟังและนำมาขบคิดพิจารณาว่าสิ่งใดที่แตกต่างไปจากที่เราเข้าใจหรือไม่ หรือมุมมองใหม่นั้น มีเหตุมีผลพอที่จะหักล้างในสิ่งที่เราเชื่อหรือไม่ หรือมีสิ่งใดที่จะช่วยส่งเสริมให้เราก้าวไปสู่เป้าหมายได้รวดเร็วมากขึ้นหรือเปล่า

6)จงอย่าสู้หรือแข่งขันในสมรภูมิที่เราเสียเปรียบ

ก่อนอื่นเราต้องศึกษาจุดอ่อนและจุดแข็งของตัวเราหรือสินค้าของเราอย่างถ่องแท้เสียก่อน นอกจากนั้น ในตลอดสามปีที่ผ่านมาบริษัทคู่แข่งของเราผลิตสินค้าหรือดำเนินนโยบายใดบ้างที่ส่งผลกระทบต่อตลาดหรือบริษัทของเราบ้างหรือไม่ และตัวเราเตรียมรับมือกับคู่แข่งอย่างไร และทำอะไรไปบ้างที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อตลาดหรือต่อคู่แข่ง และที่สำคัญคือ เราต้องคาดการณ์ล่วงหน้าว่า ในอีกสามปีคู่แข่งน่าจะทำอะไรบ้าง และเราจะเตรียมทำอะไรสำหรับการแข่งขันในอนาคต เป็นต้น

2.วิธีการบริหารเพื่อเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์กร

วิธีการบริหารของแจ็ค เวลช์ เหมาะกับองค์กรใหญ่ ๆ ที่พนักงานไม่มีความกระตือรือร้น ทำงานแบบเช้าชามเย็นชาม มีการเล่นเส้นเล่นสาย และมีการแบ่งเป็นก๊กเป็นเหล่า เป็นต้น วิธีการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาองค์กร มีดังนี้

1)สร้างความปริวิตกและหวาดกลัวให้กับพนักงานทุกคน

แจ็ค เวลช์ บอกพนักงานทุกคนว่า หากทำงานอย่างไม่มีประสิทธิภาพ ไม่สามารถเพิ่มผลผลิตให้กับองค์กรได้แล้ว คุณอาจจะถูกปลดออกได้ทุกเวลา และที่สำคัญ ถ้าคุณไม่เห็นด้วยกับนโยบายของจีอีแล้ว คุณก็ไม่สมควรที่จะทำงานกับจีอีอีกต่อไป อาจจะดูรุนแรงและโหดร้าย แต่แจ็ค เวลช์ให้เหตุผลว่า เขาทำทุกอย่างเพื่อจีอี และเขามีความยุติธรรมพอ ที่จะให้การเลื่อนขั้นตามความสามารถของพนักงาน และเขามีความเชื่อที่ว่า ในเมื่อตัดสินใจแล้วว่าจะเข้ามาทำงานกับองค์กร รับเงินเดือนจากองค์กร แต่ไม่มีความจงรักภักดีต่อองค์กรหรือตั้งใจทำงานก็ถือได้ว่าไม่มีคุณสมบัติเพียงพอที่จะทำงานร่วมกันอีกต่อไป และถึงแม้ว่า พนักงานคนนั้นจะมีความสามารถสักเพียงใด แต่ถ้าไม่เห็นด้วยกับนโยบายขององค์กรก็ต้องปลดออก

แจ็ค เวลช์ มีวิธีการกำจัดพนักงานที่หัวแข็งและทำงานมานานแต่ไม่มีประสิทธิภาพ โดยการจ้างพนักงานรุ่นใหม่ไฟแรงที่มีความสามารถมาทำงานเพื่อท้าทายความสามารถของพนักงานหน้าเดิม จนพนักงานรุ่นเก่าเหล่านั้นอึดอัดและยอมลาออกไปเอง อาจจะดูไร้ความปรานีแต่ทุกอย่างตั้งอยู่บนความยุติธรรม และบนพื้นฐานของความเป็นจริง คนเก่งมีผลงานย่อมได้รับการเลื่อนขั้นตามความเป็นจริง ไม่มีการเล่นเส้นสายใด ๆ หรือถ้ายังไม่ยอมลาออก แจ็ค เวลช์ จะสั่งให้ย้ายไปทำงานประเภทที่น่าเบื่อ จนต้องยอมลาออกไปเอง แต่ถ้ายังไม่ยอมลาออกอีก หรือมีพวกพ้องมากมายทำให้สั่งย้ายลำบาก แจ็ค เวลช์ ก็จะใช้วิธีตั้งเป้าหมายงานให้สูง ทำได้ยาก จนหมดแรงและลาออกไปเองในที่สุด

2)สร้างวิสัยทัศน์ใหม่ให้กับองค์กร

สิ่งเหล่านี้จะเป็นสิ่งที่บอกพนักงานทุกคนว่า องค์กรต้องการอะไร และกำลังมุ่งไปสู่จุดไหน เมื่อไหร่ อย่างไร พนักงานทุกคนจะต้องทำงานรวมเป็นหนึ่งเดียว ไม่มีการแยกกรมกองหรือแผนกอีกต่อไป ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ใหม่ ๆ จะต้องได้รับการเสนอจากระดับล่างสู่ระดับบนอย่างไม่มีข้อยกเว้น และหากหัวหน้าคนใดพยายามที่จะสกัดกั้นลูกน้องไม่ให้แสดงออกหรือแย่งผลงานลูกน้องไปเสนอเสียเอง จะต้องถูกปลดออกทันที นอกจากนั้น พนักงานคนใดที่ได้รับมอบหมายงานไปแล้วไม่สามารถปฏิบัติได้ตามที่รับปากได้ จะไม่ได้รับการเลื่อนขั้นหรืออาจจะต้องถูกลดตำแหน่งลงตามความเหมาะสม

3)ยกเลิกการผลิตสินค้าที่จีอีไม่สามารถครองตลาดได้เป็นอันดับหนึ่งหรือสองออกทั้งหมด

เพื่อปรับองค์กรให้เล็กลงและมีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น สินค้าใดที่ไม่ทำกำไร หรือมีกำไรแนวโน้มที่จะลดลงอีกในอนาคตก็ให้ตัดออกเสีย เมื่อคนในองค์กรมีจำนวนน้อยลง ไม่มีการทำงานซ้ำซ้อน ทุกคนมีงานต้องทำ พนักงานก็จะมีความตื่นตัวและกระตือรือร้น ขยันทำงานมากยิ่งขึ้น นอกจากนั้น ปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่ทำให้สินค้าของ จีอี ติดตลาดมาจนถึงทุกวันนี้ คือ แจ็ค เวลช์ จะเน้นที่ความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก ในที่นี้คือการรู้ซึ้งถึงความต้องการของลูกค้าว่าต้องการสินค้าแบบใด เพื่อแก้ไขปัญหาหรือสนองตอบต่อความต้องการตรงจุดไหน และสินค้าจะต้องมีความทันสมัยตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย

3.ทักษะ 4 ประการที่ แจ็ค เวลช์ ปลูกฝังให้กับพนักงานที่จะก้าวขึ้นมาสู่ระดับผู้บริหาร

1)มีทักษะในการสื่อความ

พูดจาชัดเจน ตรงประเด็น และพูดเพื่อความสร้างสรรค์มากกว่าทำลาย เน้นผลประโยชน์ขององค์กรเป็นหลักและมีความยุติธรรม

2)ทักษะในการทำงานเป็นทีม

สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้

3)ทักษะในการบริหาร

ทำงานอย่างรวดเร็ว เรียบง่าย และสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกน้องได้ว่า ตนสามารถนำพาองค์กรไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ได้

4)ทักษะในการฟัง

ฟังมากกว่าพูด และถ้าจะต้องพูดให้ "พูดทีละคำ ฟังทีละเสียง"

Three Key Survival Skills for New Business Owners

The first year of a new business is the toughest. It's the make-it-or-break-it year. The challenges a new business owner faces on a daily basis require three key survival skills: self-reliance, self-direction, and resilience. No matter how brilliant the business idea, without these three skills entrepreneurs risk failure.
  • Self-Reliance

It's a fact of life that every small business owner wears many hats to fill all functions: operations, sales, marketing, finance, human resources-even janitor and chief coffee-maker when needed. Unlike life in corporate America, where each employee has a specialized area of expertise, a new business owner must excel in all of the disciplines required to keep a small business running smoothly. The revenue drain of hiring employees can spell disaster for struggling new businesses.

Self-reliance means more than wearing many hats. It also means depending on self for motivation, discipline and decision making and accountability. The true entrepreneur doesn't need a cheering squad to keep going. The self-reliant business owner is highly skilled at "picking himself up by the boot straps." Without that all-important sense of self-reliance, critical decisions will be delayed and opportunities will be missed.

If you find yourself lacking self-reliance, do a total skills inventory to identify the gap that is holding your business back from prospering to your expectations. Rate yourself on a scale of one to four on each skill needed to run your business. Identifying which skills you are deficient in is the first step toward getting help to solve the problem.

  • Self-Direction

One of the toughest challenges for new business owners is strategic planning: the ability to plan for multiple contingencies to reduce risk of failure. The self-directed entrepreneur analyzes market conditions to anticipate setbacks and defines alternative revenue sources to avoid costly earnings slumps.

Equally important, the self-directed business owner should be efficient in executing daily, weekly and monthly activities crucial to maintaining a continual sales pipeline and revenue stream. A successful entrepreneur needs no supervisor to keep him on track.

Unfortunately, not many people excel at both strategic planning and day-to-day tactical efforts. If you are an entrepreneur who gravitates to "the big picture," daily and weekly task lists will help keep you on track toward your revenue goals. Invest in tools to minimize your busy work so that important data like customer contact information can be easily accessed, yet maintained with minimal effort.

On the flip side, highly detail-oriented business owners without a strategic plan suffer from lack of direction. Make time at least quarterly to consider questions like: "What could I do long-term to improve the efficiency of my operations?" or "What could I be doing differently to attract the kind of customers I prefer?"

  • Resiliency

While it is often true that persistence pays off, resiliency is a more essential skill to new business owners. Resiliency is the ability to change direction when needed. It is the 'bounce back" effect that is truly necessary to avoid business failure.

In business, change is constant:

* Economic conditions can reduce consumer spending

* Shifts in consumer tastes make your product out-of-date

* Improvements in technology make your inventory obsolete

Any or all of these things can mean increased competition and loss of market share for your business. You have to be prepared to deal with them--before they happen.

Those who lack resiliency fall victim to self doubt that all too often means the end of a promising new business. To increase resiliency, practice the old-fashioned skill of "getting back on the horse." When things don't work out as planned, do not stop to anguish over the situation. Immediately consider the best alternative actions to take. Take action as soon as possible. Even a less-than-perfect action plan will get you moving in a positive direction and avoid the stall of self doubt and despair.

A new business owner who builds up his or her self-reliance, self-direction and resiliency will greatly increase the odds of surviving that first year in business. And after the first year, your survival skills will ensure that you are well on your way to many more years of success. credit by Deborah Walker