วิธีการฝึกสมองของหลวงวิจิตรวาทการ
1. ฝึกประสาทสัมผัสต่างๆ อันได้แก่ ตา, หู, กาย และใจ
การฝึกประสาทสัมผัสทางตา :
• ฝึกหัดเหลือบไปซ้ายสุด ขวาสุด บนสุด และล่างสุด อย่างรวดเร็วโดยไม่เอียงหน้าตาม ถ้าฝึกเช่นนี้บ่อยๆ จะทำให้กล้ามเนื้อตาดี และมีเสน่ห์ที่ดวงตา จะเป็นคนที่มีบุคลิกดีไม่ เมื่อมองใครตาจะทรงพลัง
• ฝึกจัดวางสิ่งต่างๆ ให้ตรง เช่นปูผ้าปูโต๊ะให้ตรง หรือฝึกขีดเส้นบนกระดาษให้ตรง การทำเช่นนี้ เป็นการใช้สายตาฝึกจิตให้มีสมาธิ เพราะต้องใช้ความตั้งใจในการทำให้ตรง และการตั้งใจคือการทำสมาธิอย่างหนึ่ง
• ฝึกการใช้สายตามองปราดอย่างรวดเร็ว แล้วนับจำนวนสิ่งของที่มองเห็น หรือนับสีที่เห็นว่ามีกี่สี การทำเช่นนี้จะทำให้เป็นคนมีความจำดี
การฝึกประสาทสัมผัสทางหู :
• ฝึกฟังว่าเสียงดนตรีที่ได้ยินประกอบด้วยเครื่องดนตรีทั้งหมดกี่ชนิด และอะไรบ้าง การทำเช่นนี้เป็นการฝึกสมาธิทางการฟัง ถ้าฝึกเป็นประจำจะทำให้สามารถเรียนรู้ภาษาต่างประเทศได้เร็ว และสามารถจับใจความสิ่งต่างๆ ที่ฟังได้แม่นยำยิ่งขึ้น
การฝึกประสาทสัมผัสทางกาย :
• ฝึกคลำผลไม้ที่มีขนาดต่างๆ กัน แล้วให้ Feel ถึงขนาด และน้ำหนักที่ต่างกันของผลไม้ การฝึกเช่นนี้เป็นการฝึกสติฐานกาย จะทำให้เกิดความรู้เนื้อรู้ตัว เกิดสติสัมปชัญญะ ทำให้สามารถดึงเอา intuitive wisdom หรือสัญชาตญาณมาใช้ได้ รู้ว่าสิ่งไหนควรทำหรือไม่ควรทำ และเมื่อไรควรทำ
การฝึกประสาทสัมผัสทางใจ :
• ฝึกคาดคะเนเวลา โดยไม่ดูนาฬิกา เมื่อฝึกเป็นประจำจนสามารถคาดคะเนได้ใกล้เคียงกับเวลาจริงจะทำให้เป็นคนตรงต่อเวลา
• ฝึกสมาธิ คือฝึกความสามารถของจิตให้สามารถเพ่งสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยไม่คิดเรื่องอื่นจนกระทั่งเรื่องนั้นประสบความสำเร็จก่อนจึงคิดเรื่องต่อไป ปัญญาและความฉลาดของมนุษย์นั้นจะได้มาก็ต่อเมื่อจิตมีสมาธิเท่านั้น จิตที่รวมกันเป็นหนึ่งจะสามารถข่มจิตคนอื่นได้ ดังตัวอย่างการรวมแสงอาทิตย์ผ่านเลนส์นูน เมื่อแสงอาทิตย์มารวมกันเป็นจุดจุดเดียว จะมีพลังมากจนสามารถทำให้กระดาษไหม้ได้
2. ฝึกการสร้างสมาธิ ทำได้โดยการ
1. สร้างความตั้งใจให้อยากทำในสิ่งที่ทำ (สร้างฉันทะ) บางสิ่งเราไม่อยากทำ แต่จำเป็นต้องทำเพราะเป็นหน้าที่ ให้เราลองมองว่าจิตของเราจะเบิกบานเพียงใดเมื่อทำสิ่งนั้นให้สำเร็จลุล่วงได้ จิตจะมีสมาธิได้ต้องมีการข่มจิต
2. ฝึกคิดในวงแคบ การฝึกคิดในวงแคบจะทำให้จิตมีพลัง ไม่ฟุ้งซ่าน
3. ฝึกการยึดประเด็น ฝึกพูดในประเด็นเดียวให้จบก่อน แล้วจึงเริ่มต้นประเด็นใหม่
4. ฝึกระเบียบวินัย การฝึกวินัยทางกาย เช่น ฝึกการฝืนใจไม่ทำในสิ่งที่อยากทำแต่ไม่ควรทำ และการวินัยทางจิต เช่นฝึกให้คิดอย่างมีระบบ ไม่สะเปะสะปะ
5. สร้างบรรยากาศรอบตัวให้ โล่ง โปร่ง สบาย จิตจะมีสมาธิ เมื่อจิตโล่ง โปร่ง สบาย
6. ฝึกความจริงใจ เราต้องฝึกจริงใจทั้งต่อตนเอง และต่อผู้อื่น เพราะสมาธิคือความตรง เมื่อจิตเที่ยงตรงจึงมีสมาธิ
7. หัดคิดแต่สิ่งสร้างสรรค์ ส่วนใหญ่ความคิดลากเราไปในทาง Negative ดังนั้นให้ฝึกคิดสวนกระแส เพื่อเป็นการสร้างสมาธิ และย้ายจิตไปสู่ความคิดที่เป็น Positive
8. ฝึกพูดหรือเขียนสิ่งต่างๆ ที่เรารู้มาด้วยภาษาของเราเอง เพื่อรวบรวมสิ่งที่มีอยู่ในสมองมาเรียบเรียงใหม่ แล้วเราจะรู้ว่าเรามีความรู้ความเข้าใจในสิ่งนั้นๆ มากน้อยเพียงไร
3. ฝึกการสร้างปฏิภาณไหวพริบ หรือ ญาณหยั่งรู้ (ฝึกสติ) ทำได้โดยการ
1. ฝึกความรู้เนื้อรู้ตัว อาจทำได้โดยการทำวิปัสสนา เมื่อเรามองอะไรให้พยายามเห็นอย่าสักแต่ดู เมื่อเราได้ยินอะไรให้พยายามได้ยินอย่าสักแต่ฟัง
2. ฝึกคิดว่าโลกนี้มีหลายทางเลือก ให้มองว่าคำตอบมีได้หลายคำตอบ และปัญหามีทางออกได้หลายทาง
3. ฝึกการเป็นคนช่างสงสัย ช่างสังเกต ให้ฝึกตั้งคำถามกับข้อมูลที่ได้มา คนฉลาดจะไม่เชื่อในสิ่งที่เชื่อตามกันมา แต่จะเชื่อเมื่อได้พิสูจน์แล้วว่า ความจริงที่รู้มานั้น ณ ปัจจุบันยังคงเป็นความจริงอยู่หรือไม่ นอกจากนั้นให้หัดสังเกตความแตกต่างของสิ่งปกติ และสิ่งผิดปกติ
4. ฝึกสังเกตว่าสิ่งที่เกิดขึ้นซ้ำๆ นั้น มีหลักการเป็นมาอย่างไร ถ้าเราสามารถมองได้ทะลุปรุโปร่งแล้วเชาว์ปฏิภาณก็จะเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
5. เลิกมองว่าโลกนี้ดีหรือชั่วโดยสิ้นเชิง เพราะเราจะขาดสติทันทีเมื่อเราตัดสินคนอื่นว่าสิ่งที่เขาทำนั้นถูกหรือผิด
6. ท่องจำสุภาษิตต่างๆ ที่คนเขาพูดกัน เช่นคนฝรั่งเศส กล่าวกันว่า “ช่วยตนเองก่อนแล้วพระเจ้าจะช่วยท่าน” หากเราท่องจำสุภาษิตต่างๆ เหล่านี้ได้ ตราบเมื่อเราตกที่นั่งลำบากจะได้มีสติ และปฏิภาณไหวพริบในการแก้ปัญหา พาเราพ้นจากวิกฤต
4. ฝึกการมีเหตุผล ทำได้โดยการ
1. ฝึกคิดว่าสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นเป็นผล ก่อนเกิดผลจะต้องเกิดเหตุก่อน เช่นมีควัน ก็ต้องมีไฟ
2. ฝึกคาดคะเนพฤติกรรมของผู้อื่น ว่าถ้าเขาเจอเหตุการณ์เช่นนี้เขาจะมีพฤติกรรมตอบโต้อย่างไร
3. หัดพิสูจน์อยู่เสมอว่าสิ่งที่เราเคยเชื่อว่ามันจริง ณ ปัจจุบันนี้มันยังคงจริงอยู่หรือไม่ และมันจะจริงไปอีกนานแค่ไหน
5. ฝึกการตัดสินใจ ทำได้โดยการ
1. ฝึกเป็นนักเลือก เช่น ถ้ามีนกหลายประเภท ท่านอยากเป็นนกประเภทไหน เป็นต้นไม้พรรณใด เพราะเหตุใด หรือท่านอยากเป็นนักธุรกิจประเภทไหน เพราะอะไร
2. ฝึกพิจารณาว่าสิ่งที่เราเชื่อมาเป็นเวลานานนั้น ปัจจุบันยังจริงอยู่หรือไม่ มีอะไรต้องปรับปรุงแก้ไข
3. ฝึกมีความคิดในเชิงบวก
4. ฝึกเปิดรับฟังความเห็นต่างๆ ที่แตกต่างจากเรา
5. คิดถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว เพื่อให้มีจิตใจกว้างขวาง คนใจแคบจะมีมุมมองแคบ จึงคิดการใหญ่ได้ยาก
6. หัดหาเหตุผลในเรื่องต่างๆ ให้กับตัวเอง และหัดพิสูจน์ความเชื่อต่างๆ
7. หัดพิจารณาสิ่งต่างๆ ให้ครบทุกด้านทุกมุม ดังที่สมเด็จพุทธาจารย์ โต พรหมรังสี กล่าวไว้ว่า “พิจารณามหาพิจารณา พิจารณาจนสุดปัญญา”
8. พยายามมองสิ่งต่างๆ แบบกลางๆ (Moderation) เพื่อไม่ให้ความคิดเอนเอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง อันจะส่งผลต่อการตัดสินใจ
6. ฝึกการสร้างภาพในใจ (มโนคติ หรือ Vitalization)
ประโยชน์ของการสร้างภาพในใจ :
1. เป็นการย่นระยะเวลาการลองผิด ลองถูก เช่น ถ้าอยากจัดห้องรับแขกใหม่ ให้ลองสร้างมโนภาพก่อนว่าสุดท้ายห้องจะออกมาหน้าตาเป็นอย่างไร จะจัดอะไรไว้ตรงไหนจึงจะเหมาะสมและสวยงาม เมื่อเห็นมโนภาพชัดแล้วจึงค่อยเริ่มเคลื่อนย้ายข้าวของ แล้วผลที่ได้จะออกมาใกล้หรือตรงกับสิ่งที่เราต้องการ
2. เกิด Creativity เช่นกรณี 2 พี่น้องตระกูล Wright คิดสร้างเครื่องบิน เนื่องจากมีการจินตนาการว่าคนน่าจะบินได้
3. ทำให้มองเห็นผลในระยะยาวได้ชัดเจน ทำให้การตัดสินใจแม่นยำมากขึ้น
4. ทำให้เป็นคนมี Positive Thinking เนื่องจากสามารถมองปัญหาได้หลายด้าน เมื่อแก้ปัญหาไม่ได้ก็สามารถมองหาอีกวิธีทางได้ เมื่อฝึกไปนานๆ ก็จะเป็นคนมี Positive Thinking
5. ทำให้เป็นคนที่ทำอะไรมีแบบแผน ไม่สุกเอาเผากิน
6. ทำให้เป็นคนที่มีความแจ่มใส สดชื่น
7. ทำให้เป็นคนไม่โลเล
วิธีการฝึกให้มีภาพในใจ :
1. เวลาจะไปไหนให้ลองสังเกตว่าที่ที่จะไปจะต้องผ่านจุดไหนบ้าง จะต้องนั่งรถกี่ต่อ หรือเวลาจะไปพบใครให้ลองสร้างภาพว่าคนที่เราจะไปพบจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร เขาจะพูดอะไรกับเราบ้างเป็นต้น
2. หาหนังสือหนังสือดีๆ มาอ่าน และให้จินตนาการสร้างภาพร่วมไปกับหนังสือนั้นๆ เช่นอ่านวรรณกรรมจีนกำลังภายใน แล้วจินตนาการภาพตาม
3. ให้ลองคิดกลับในมุมตรงข้าม เช่นให้ลองสร้างภาพว่าถ้ากรุงเทพรถไม่ติดจะเป็นอย่างไร
7. ฝึกเรื่องความจำ
ผู้ที่มีความจำดี คือผู้ที่มีคุณสมบัติดังนี้
1. สามารถท่องจำสิ่งที่ต้องการจะจำได้
2. เก็บข้อมูลนั้นๆ ให้ได้นานเท่าที่เราต้องการ
3. สามารถดึงข้อมูลนั้นๆ มาใช้ได้ เมื่อจำเป็น
การท่องจำที่ดีต้องมีการออกเสียง หลวงวิจิตร ท่านกล่าวว่า ประสาทสัมผัสทางหูจะช่วยในการจำได้เร็ว และนานกว่าประสาททางตา การฝึกให้เป็นคนมีความจำดี จะต้อง
1. หาสถานที่ท่องจำที่เงียบ และท่องจำในขณะที่ร่างการพร้อม ไม่ใช่ท่องตอนก่อนนอน
2. ต้องเปรียบเทียบว่าสิ่งใหม่ท่องอยู่มีความแตกต่างจากสิ่งที่เราเคยรู้มาอย่างไร
3. ขณะอ่านหรือท่องจำต้องมีมโนภาพขึ้นในใจ
4. หัดใจเย็น รอบคอบ และมองสิ่งต่างๆ ที่ผ่านมาอย่างพินิจพิเคราะห์
5. ต้องขีดเขียนไปด้วยขณะท่องจำ
6. การจะเก็บข้อมูลให้ได้นานเท่าที่เราต้องการได้จะต้อง กำจัดความกังวลออกจากจิตใจให้มากที่สุด
7. การจะดึงข้อมูลที่มีมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะต้องไม่วอกแวก และต้องไม่มีนิวรณ์ 5