วิธีกำจัดความเครียดในงานตามสไตล์ Harvard

บทความที่นำเสนอคือ Why Smart People Underperform จาก Harvard Business Review ฉบับเดือนมกราคม 2005 เขียนโดย Edward Hallowell บทความเรื่องนี้เป็นบทความอมตะที่ถูกตีพิมพ์ครั้งแล้วครั้งเล่า ภายในช่วงเวลาสี่ถึงห้าปีที่ผ่านมา ว่าด้วยเรื่องเกี่ยวกับบุคคลที่ชาญฉลาด มีความรู้ความสามารถ เหตุใดจึงทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพอย่างที่ควรจะเป็นหรืออย่างที่คาดหวังไว้ ผู้แต่งได้บรรยายลักษณะของบุคคลดังกล่าว ไว้ดังนี้

o มีอาการเครียดและวิตกกังวลอยู่ตลอดเวลาเกี่ยวกับการงานที่ยังไม่ได้สะสาง

o มีงานยุ่งทั้งวัน ทำงานเช้าจรดเย็น แต่ผลงานที่ออกมากลับมีเพียงนิดเดียว

o แบ่งเวลาไม่เป็น งานท่วมหัวแต่ไม่รู้จะทำชิ้นไหนก่อนดี เลือกไม่ถูก หรือเลือกแล้วก็มักเลือกผิด

o อารมณ์แปรปรวน หน้านิ่วคิ้วขมวด ใส่อารมณ์กับคนรอบข้าง

o ทำงานร่วมกับผู้อื่นไม่ได้ หงุดหงิด อึดอัด ใจร้อน

o ไม่มีสมาธิ จิตใจวอกแวก

o มีความหวาดกลัวว่างานจะล้มเหลว กลัวจะเสียหน้า เป็นต้น

อาการดังกล่าวเป็นอาการของโรคที่เรียกว่า Attention Deficit Trait (ADT) หรือโรคเครียดนั่นเอง ส่งผลให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมามากมาย เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคปวดตามข้อ โรคไมเกรน และโรคแผลในกระเพาะอาหาร เป็นต้น โรคดังกล่าวเกิดจากสภาพสังคมที่บีบคั้น การงานที่รุมเร้า ท่ามกลางเศรษฐกิจที่ฝืดเคือง

ADT แพร่ระบาดในหมู่คนทำงานมากมาย จนเป็นภาพที่เห็นกันอย่างชินตาในยุคสมัยปัจจุบัน

เดิมทีโรคดังกล่าวถูกเปรียบเทียบกับโรค Attention Deficit Disorder (ADD) ซึ่งเกิดจากกรรมพันธุ์ กล่าวง่าย ๆ คือADD เป็นพฤติกรรมของบุคคลจำพวก Hyperactive นั่นเอง ซึ่งมีลักษณะคือ มีความคิดฟุ้งซ่าน พูดทั้งวัน ผัดวันประกันพรุ่ง ชีวิตไม่มีระเบียบ ห้องรกรุงรัง กว่าจะผลิตผลงานแต่ละชิ้นใช้เวลานานมาก และผลงานที่ออกมาไม่ค่อยมีความเสมอต้นเสมอปลาย อารมณ์ดีงานก็เนี้ยบ อารมณ์เสียงานก็ไม่เป็นสัปปะรด ใจร้อน มีปัญหากับคนรอบข้างอยู่ตลอดเวลา แต่คนเหล่านี้ก็มีข้อดี คือมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มองอะไรละเอียดถี่ถ้วนกว่าคนทั่วไป ทำงานภายใต้ความกดดันได้ดี เมื่อเจออุปสรรคหรือความล้มเหลวสามารถกลับสู่สภาวะปกติได้ค่อนข้างเร็ว กล้าพูดกล้าทำ มีลักษณะความเป็นผู้นำสูง แต่ปัจจุบันพฤติกรรมเหล่านี้สามารถเกิดได้กับทุกคนที่อยู่ในสภาวะที่บีบคั้น ซึ่งก็คือโรคเครียดนั่นเอง

Attention Deficit Trait (ADT) หรือโรคเครียด เกิดจากการทำงานหนัก กอปรกับในปัจจุบันบริษัทต่าง ๆ มีนโยบายลดกำลังคน เพื่อเพิ่มผลกำไรให้กับองค์กร ยิ่งทำให้ต้องทำงานหนักมากขึ้น งานทั่วไปที่นอกเหนือจากความรับผิดชอบก็ต้องช่วยทำ และหากทำงานไม่ได้ตามที่บริษัทคาดหวังก็โดนไล่ออก มองโดยผิวเผินอาจเป็นเรื่องดีเพราะเป็นการทำงานคุ้มกับค่าจ้าง แต่ถ้ามองถึงผลงานที่ออกมาแล้วนั้น การทำงานภายใต้สภาวะที่กดดัน สมองย่อมตึงเครียด ร่างกายย่อมเหนื่อยล้า ทำให้ตัดสินใจได้ไม่เฉียบคม หรือตัดสินใจผิดพลาด ผลงานที่ออกมาย่อมไม่มีประสิทธิภาพ จึงมีปัญหาตามมาให้แก้ไขอีกมากมาย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ถ้าไม่ทำงานก็อดตาย หรือไม่ยอมทำงานหนักก็โดนไล่ออกอยู่ดี ดังนั้น ผู้แต่งได้เสนอวิธีการรับมือกับอาการเครียดดังกล่าวไว้ดังต่อไปนี้

1. วิธีการบรรเทาความเครียด ในแง่ของการดูแลสุขภาพร่างกาย

1. พักผ่อนให้เพียงพอ นอนหลับให้เต็มอิ่ม เพราะการนอนไม่พอ ทำให้สมองไม่แล่น งัวเงีย อึดอัด และหงุดหงิด การนอนอย่างเพียงพออยู่ที่ประมาณ 5-10ชม. ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล ซึ่งจะรู้ได้ว่าพักผ่อนเพียงพอแล้วคือตื่นก่อนเวลานาฬิกาปลุก

2. ทานอาหารให้ตรงเวลา เพื่อป้องกันการเกิดโรคแผลในกระเพาะอาหาร และเนื่องจากทานอาหารไม่ตรงต่อเวลาจึงต้องมีของขบเคี้ยวไว้ประทังความหิว ซึ่งเป็นการเพาะนิสัยที่เป็นสาเหตุของการเป็นโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงโดยไม่รู้ตัว เพราะอาหารดังกล่าวมักมีปริมาณคาร์โบไฮเดรต ไขมันและน้ำตาลในปริมาณที่สูง เช่นน้ำอัดลม ช็อคโกแลต ขนมขบเคี้ยวต่าง ๆ เป็นต้น การกินอาหารที่มีรสหวานจัด ส่งผลให้น้ำตาลในกระแสเลือดจะไม่คงที่ สมองจะมึนงง คิดอะไรไม่ค่อยออก ทางที่ดีที่สุดคือควรทานอาหารที่มีประโยชน์ ทานให้ครบทั้ง 5 หมู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พวกธัญพืช ผัก ผลไม้ ควรทานให้มาก ๆ เพราะกากใยจากผักและผลไม้จะช่วยล้างสารพิษที่ตกค้างในร่างกายได้

3. ออกกำลังกายทุกวันหรือวันเว้นวัน วันละ 30 นาที ร่างกายจะสดชื่นกระปรี้กระเปร่า เพราะร่างกายจะหลั่ง Happy hormone หรือ Endorphin ออกมา ทำให้สมองปลอดโปร่งแจ่มใส นอกจากนั้น การออกกำลังกายช่วยขจัดสารพิษที่สะสมในร่างกายออกไปได้อีกด้วย

4. ทานวิตามินรวม หรือบีรวมและโอเมก้า ทรี เพื่อบำรุงสมอ

2. วิธีการรับมือและบรรเทาอาการเครียด ในแง่ของการทำงาน

1. สร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน

1.1 จัดห้องให้สะอาดเรียบร้อย เอกสารต้องเป็นระเบียบเหลือเฉพาะที่สำคัญ ๆ ไว้ การมีเอกสารรกรุงรังจะทำให้บรรยากาศอึดอัดไม่น่าทำงาน และยิ่งเห็นงานที่ยังคั่งค้าง ยิ่งทำให้กังวลใจ เมื่อห้องทำงานเป็นระเบียบ จิตใจจะปลอดโปร่งเกิดกำลังใจในการทำงาน

1.2 สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมงาน เจ้านาย และลูกน้อง อย่าสร้างศัตรูเพราะยิ่งเป็นการสร้างความเครียดมากขึ้น ยิ่งเครียดยิ่งระบายอารมณ์ใส่ผู้อื่นวนเวียนเป็นวงจรไม่มีที่สิ้นสุด และมนุษย์มักจดจำแต่ประสบการณ์ที่ไม่ดี เช่น ที่ผ่านมาเคยทำดีมาตลอด พลาดครั้งเดียวความดีทั้งหมดหายไปสิ้นเหมือนไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เป็นต้น ดังนั้น วิธีแก้ไขคือให้ระมัดระวังคำพูด พูดทีละคำ ฟังทีละเสียง สิ่งเหล่านี้ต้องใช้ความพยายามอย่างต่อเนื่อง อยากให้คนรักต้องรักเขาก่อน อยากให้คนยิ้มกับเราต้องยิ้มให้เขาก่อน เลิกหวังอะไรจากคนอื่น และให้คิดว่าตัวเราจะทำอะไรเพื่อคนอื่นได้บ้างจะดีกว่า

1.3 หาเพื่อนสนิทเพื่อผ่อนคลายความตึงเครียด และแลกเปลี่ยนความคิดกันเป็นระยะ ๆ เพื่อป้องกันการสะสมความเครียดโดยไม่รู้ตัว

2. แบ่งย่อยงานชิ้นใหญ่ ๆ ให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วทำสิ่งที่ง่ายก่อน จะได้มีกำลังใจในการทำงาน

3. พยายามหาเวลาว่างวันละประมาณ 1ชม. ปลีกตัวเองไปอยู่ในที่เงียบ ๆ เพื่อตรึกตรองมองตัวเอง เช่น

o ตอนนี้เราทำงานไปถึงไหนแล้ว

o มีสิ่งไหนที่เราจะต้องรีบทำก่อนหรือไม่ หรือมีสิ่งไหนที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษบ้าง

o ตัวเรากำลังทำอะไรอยู่ และเราอยู่ใกล้หรือไกลจากเป้าหมายของชีวิต

o งานมากมายที่ทำไป มันเกิดประสิทธิผลบ้างหรือไม่

o เราใส่ใจการดูแลร่างกายของตัวเองมากน้อยแค่ไหน เช่นการออกกำลังกาย การพักผ่อนให้เพียงพอ เป็นต้น

o พฤติกรรมของเราที่แสดงออกต่อคนรอบข้างเป็นอย่างไรบ้าง เราก้าวร้าวมากขึ้นหรือไม่ หรือเบื่อหน่าย ซึมเศร้า

o คิดคาดการณ์ล่วงหน้าว่าพรุ่งนี้เราจะทำอะไรบ้าง และสิ่งใดสำคัญที่สุด

4. งานจำพวกการติดต่อทางโทรศัพท์ ตอบอีเมล์ ควรรวบรวมไว้ทำพร้อมกันทีเดียว หลังจากทำงานที่สำคัญเสร็จสิ้นไปแล้ว

5. เอกสารต่าง ๆ ไม่ควรหมกเม็ด ต้องรีบสะสางโดยเร็ว โดยอาจจะทำเองหรือมอบหมายให้ผู้อื่นก็ได้

6. สังเกตว่าร่างกายของเราพร้อมที่สุดในการทำงานตอนช่วงเวลาไหน เช่น ตอนเช้า ตอนบ่าย หรือตอนค่ำเป็นต้น แล้วจัดงานที่สำคัญ ๆ ไปทำตอนช่วงเวลานั้น ๆ

6. อย่าคิดว่าทำงานมากชิ้นแล้วจะดีเสมอไป ควรเน้นคุณภาพมากกว่าปริมาณ และเลือกทำในสิ่งที่สำคัญที่สุดก่อน รู้จักมอบหมายงานให้ผู้อื่นบ้าง

สุดท้าย ถ้าทำทุกอย่างที่กล่าวมาทั้งหมดแล้วรู้สึกว่าอึดอัดและเหนื่อยเหลือเกิน ให้หยุดทำงานชั่วคราว ให้เปลี่ยนอิริยาบถ เปลี่ยนกิจกรรมไปทำอย่างอื่นที่ผ่อนคลาย เช่น ฟังเพลง เดินเล่น เป็นต้น

วิธีแก้ไขดังกล่าวอาจจะเป็นวิธีการทั่ว ๆ ไป ที่ทุกคนพอจะทราบกันดีอยู่แล้ว แต่ส่วนใหญ่มักไม่ได้ทำ หรือทำไม่ครบทั้งหมด หรือทำ ๆ หยุด ๆ เป็นต้น โรคนี้เป็นโรคที่ส่งผลกับทุกระบบของร่างกายเสมือนสายลูกโซ่ ดังนั้น จึงต้องพยายามทำให้ครบทั้งหมด ขาดอันใดอันหนึ่งไม่ได้ และต้องทำอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องจึงจะได้ผล

Three Key Survival Skills for New Business Owners

The first year of a new business is the toughest. It's the make-it-or-break-it year. The challenges a new business owner faces on a daily basis require three key survival skills: self-reliance, self-direction, and resilience. No matter how brilliant the business idea, without these three skills entrepreneurs risk failure.
  • Self-Reliance

It's a fact of life that every small business owner wears many hats to fill all functions: operations, sales, marketing, finance, human resources-even janitor and chief coffee-maker when needed. Unlike life in corporate America, where each employee has a specialized area of expertise, a new business owner must excel in all of the disciplines required to keep a small business running smoothly. The revenue drain of hiring employees can spell disaster for struggling new businesses.

Self-reliance means more than wearing many hats. It also means depending on self for motivation, discipline and decision making and accountability. The true entrepreneur doesn't need a cheering squad to keep going. The self-reliant business owner is highly skilled at "picking himself up by the boot straps." Without that all-important sense of self-reliance, critical decisions will be delayed and opportunities will be missed.

If you find yourself lacking self-reliance, do a total skills inventory to identify the gap that is holding your business back from prospering to your expectations. Rate yourself on a scale of one to four on each skill needed to run your business. Identifying which skills you are deficient in is the first step toward getting help to solve the problem.

  • Self-Direction

One of the toughest challenges for new business owners is strategic planning: the ability to plan for multiple contingencies to reduce risk of failure. The self-directed entrepreneur analyzes market conditions to anticipate setbacks and defines alternative revenue sources to avoid costly earnings slumps.

Equally important, the self-directed business owner should be efficient in executing daily, weekly and monthly activities crucial to maintaining a continual sales pipeline and revenue stream. A successful entrepreneur needs no supervisor to keep him on track.

Unfortunately, not many people excel at both strategic planning and day-to-day tactical efforts. If you are an entrepreneur who gravitates to "the big picture," daily and weekly task lists will help keep you on track toward your revenue goals. Invest in tools to minimize your busy work so that important data like customer contact information can be easily accessed, yet maintained with minimal effort.

On the flip side, highly detail-oriented business owners without a strategic plan suffer from lack of direction. Make time at least quarterly to consider questions like: "What could I do long-term to improve the efficiency of my operations?" or "What could I be doing differently to attract the kind of customers I prefer?"

  • Resiliency

While it is often true that persistence pays off, resiliency is a more essential skill to new business owners. Resiliency is the ability to change direction when needed. It is the 'bounce back" effect that is truly necessary to avoid business failure.

In business, change is constant:

* Economic conditions can reduce consumer spending

* Shifts in consumer tastes make your product out-of-date

* Improvements in technology make your inventory obsolete

Any or all of these things can mean increased competition and loss of market share for your business. You have to be prepared to deal with them--before they happen.

Those who lack resiliency fall victim to self doubt that all too often means the end of a promising new business. To increase resiliency, practice the old-fashioned skill of "getting back on the horse." When things don't work out as planned, do not stop to anguish over the situation. Immediately consider the best alternative actions to take. Take action as soon as possible. Even a less-than-perfect action plan will get you moving in a positive direction and avoid the stall of self doubt and despair.

A new business owner who builds up his or her self-reliance, self-direction and resiliency will greatly increase the odds of surviving that first year in business. And after the first year, your survival skills will ensure that you are well on your way to many more years of success. credit by Deborah Walker