มิติใหม่ในการมองชีวิตจากหนังสือยอดขาย2,000ล้านบาท

บทความที่นำเสนอสรุปประเด็นจากหนังสือเรื่อง The Road Less Travelled แต่งโดย Dr. M. Scott Peck จิตแพทย์ผู้เชื่ยวชาญในการบำบัดรักษาคนไข้มานานหลายสิบปี สมมติฐานของผู้แต่งมีอยู่ว่า คนที่อยากจะประสบความสำเร็จจะต้องรู้จักระบบความคิดและความเชื่อของตนเองอย่างถ่องแท้เสียก่อนทั้งแง่บวกและแง่ลบ แต่คนส่วนใหญ่กลับไม่ยอมรับตรงจุดนี้ และมักจะมองโลกไม่ตรงตามความเป็นจริง จึงทำให้เกิดความทุกข์ร้อนเศร้าหมองใจตลอดเวลา

ดังนั้น ผู้แต่งจึงเสนอวิธีการมองโลกที่จะนำมาซึ่งความสุข และความสำเร็จในชีวิตส่วนตัวและหน้าที่การงาน ใจความสำคัญ มีดังต่อไปนี้

"ชีวิตนั่นเป็นเรื่องยาก Life is difficult" ประโยคนี้เป็นประโยคแรกสุดของหนังสือเล่มนี้ โดยผู้แต่งกำลังชี้ให้เห็นถึงความเป็นจริงที่ว่า ชีวิตไม่ใช่ของง่าย ชีวิตเต็มไปด้วยปัญหา อุปสรรค และสิ่งที่ท้าทายที่คอยให้เราฟันฝ่า ฉะนั้น ในการใช้ชีวิต เราจะต้องมีสติสัมปชัญญะ ระมัดระวังคำพูดและการกระทำของเรา และที่สำคัญคือจะต้องยอมรับว่าตราบใดที่เรายังมีชีวิตอยู่ เราก็จะต้องเผชิญปัญหาอยู่ร่ำไป ชีวิตจึงไม่ใช่ของง่ายอย่างที่เราคิด เมื่อเรายอมรับได้จะทำให้เราไม่เครียด และสามารถแก้ไขปัญหาได้ตรงตามความเป็นจริง นอกจากนั้น ผู้แต่งแนะนำว่า ให้มองอุปสรรคทั้งหลายเป็นเหมือนบทเรียนที่จะฝึกฝนให้เรามีความเข้มแข็ง อดทน และเฉลียวฉลาดมากขึ้นไปเรื่อย ๆ

คนที่จะมีความสุข+ความสำเร็จต้องมีอุปนิสัยและทักษะในการมองโลก ดังนี้

1. นิสัย 4 ประการที่ควรปฏิบัติ (Disciplines)

1) ยอมลำบากตอนนี้ เพื่อสบายในวันหน้า (Delay immediate gratification)

เมื่อเผชิญหน้ากับความยากลำบาก คนส่วนใหญ่มักชอบหนีปัญหา โดยแกล้งไปทำสิ่งอื่นเพื่อให้เกิดความสบายใจ และได้แต่หวังว่า เมื่อเวลาผ่านไปทุกอย่างก็ดีขึ้นเอง การกระทำเช่นนี้ นอกจากจะไม่ช่วยให้ปัญหาคลี่คลายแล้ว ยังจะทำให้ปัญหายิ่งบานปลายและยากต่อการแก้ไข ดังนั้น เมื่อเจอปัญหาต้องนิ่งสงบ ยอมรับความเป็นจริง และใช้สติปัญญาที่มีอยู่ค่อย ๆ ขบคิดและแก้ไข แก้ไม่หมดในครั้งเดียวก็ไม่เป็นไร ค่อย ๆ แก้ไขไปดีกว่าไม่แก้ไขเลย

2) เลิกโทษผู้อื่นว่าเป็นต้นเหตุของปัญหาที่กำลังเผชิญ (Acceptance of responsibility)

หากเราคิดว่าปัญหาที่เกิดขึ้นล้วนเกิดจากน้ำมือผู้อื่นแล้วนั้น จะทำให้เราไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ ดังนั้น เราควรยอมรับว่าเราเองก็เป็นส่วนหนึ่งของปัญหา ทำให้จิตใจเปิดกว้างสามารถคิดแก้ไขปัญหาได้โดยธรรมชาติโดยที่ไม่ต้องมีคนมาบอก

3) การยอมรับความเป็นจริงทุกลมหายใจ (Dedication to reality)

เมื่อเรายอมรับความเป็นจริงที่ตนเองกำลังประสบอยู่ เราจึงจะสามารถสร้างแผนที่ชีวิตให้ตนเองได้ (Mapmaker) เพราะเรารู้ว่าตนเองเป็นใคร กำลังทำอะไร เพื่ออะไร กำลังเผชิญปัญหาแบบไหน และอะไรคือเป้าหมายที่สำคัญในชีวิต โดยไม่ถูกกระแสสังคมลากไปวันหนึ่ง ๆ หาแก่นสารสาระในชีวิตไม่ได้ แผนที่ชีวิตที่เราสร้างจะต้องชัดเจนที่สุดเท่าที่จะทำได้และจะต้องปรับแก้ได้ทุกเมื่อ ตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้น บางครั้งเราต้องรู้จักอ่อนน้อมและประนีประนอมบ้าง หรือบางกรณีก็ควรเข้มแข็งและกล้าหาญ เป็นต้น หากเราดื้อดึง มีความเป็นตัวของตัวเองมากจนเกินไป จะทำให้เรามองความจริงไม่ตรงตามความเป็นจริง วางตัวไม่ถูก และไม่เข้าใจพฤติกรรมของคนรอบข้าง ทำให้เกิดการทะเลาะเบาะแว้งอยู่เป็นประจำ ผู้แต่งกล่าวว่า สิ่งเหล่านี้เกิดจากการมองโลกที่ผิดคิดว่า คนรอบข้างและตัวเราเคยเป็นเช่นไรในอดีตก็ต้องเป็นเช่นนั้น พฤติกรรมทุกอย่างจึงออกมาในรูปของความเคยชิน ทำให้เราอยู่แต่ในอดีต ไม่ได้อยู่กับปัจจุบัน จึงมองไม่เห็นความเป็นจริงตรงหน้า ทำให้มีแต่ความสงสัยและไม่เข้าใจโลก เกลียดโลก เกลียดมนุษย์ หาความสุขไม่ได้ ดังนั้น เราจึงต้องปรับความคิด บุคลิกลักษณะตามความเป็นจริงในปัจจุบัน และเปิดใจยอมรับในทุกสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น

4) เมื่อเจอปัญหาแรง ๆ เราควรหยุดสักครู่หนึ่ง แทนที่จะฝืน (Balancing)

ทำจิตใจให้เป็นกลางไม่ลิงโลดหรือหดหู่จนเกินไป และเปิดใจยอมรับสิ่งใหม่ ๆ โดยนำไปขบคิดพิจารณาก่อนที่จะตัดสินใจเชื่อ

2.มุมมองในการมองความรัก (Love)

สิ่งที่ไม่ใช่นิยามของคำว่า "ความรัก" ได้แก่

1) อาการตกหลุมรัก

การตกหลุมรักตั้งแต่แรกเห็น ผู้แต่งเชื่อว่า สิ่งนี้ไม่ใช่ความรัก แต่เป็นความหลงและเป็นอารมณ์ที่เกิดจากอิทธิพลของฮอร์โมนมากกว่า เพราะความรักจะต้องเกิดจากความพยายามของทั้งสองฝ่ายที่จะสร้างมันขึ้นมา โดยจะต้องเกิดจากการปรับตัวของคนสองคนให้เข้ากัน ดังนั้น เมื่อเราเกิดอาการตกหลุมรักใครสักคนให้ระวังไว้ว่า สิ่งนี้อาจจะไม่ใช่ความรักก็เป็นได้

2) การพึ่งพาหรือฝากชีวิตไว้กับอีกฝ่าย

"ฉันอยู่ไม่ได้ ถ้าไม่มีคุณ" การคิดเช่นนี้ไม่เรียกว่า "ความรัก" แต่จะเป็นการครอบครองและการยึดติด เสมือนพยาธิที่คอยเกาะติดเหยื่อเพื่อการดำรงชีวิตของตนเอง ผู้แต่งเชื่อว่าบุคคลเช่นนี้ มีอาการป่วยทางจิต หึงหวง ไร้เหตุผล ระแวงอยู่ตลอดเวลา ตามจิกไปทุกที่ไม่ปล่อยให้อีกฝ่ายมีเวลาเป็นของตัวเอง ดังนั้น หากเจอคนประเภทนี้ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ มิฉะนั้น ชีวิตคู่ของคุณจะต้องล่มสลายอย่างไม่ต้องสงสัย นอกจากนั้น ผู้แต่งเสริมว่า คนที่ต้องพึ่งพาผู้อื่นโดยที่ตนเองอยู่ไม่ได้นั้น มีสาเหตุมาจากการขาดความรักความอบอุ่นมาตั้งแต่เด็ก และเมื่อทำผิดมักจะโทษพ่อแม่และคนรอบข้างอยู่ตลอดเวลา เป็นต้น

3) การเสียสละทุกอย่างเพื่ออีกฝ่าย

"ฉันจะยอมเสียสละเพื่อเธอ ฉันจะยอมตายเพื่อเธอ" คิดเช่นนี้ก็ไม่เรียกว่า "ความรัก" แต่เป็นการหนีปัญหามากกว่าเพราะในชีวิตมนุษย์ ยังมีสิ่งที่ต้องทำอีกมากมาย ไม่ใช่แค่เพื่อคนที่คุณรักอย่างเดียว และคนที่คิดเช่นนี้ผู้แต่งเชื่อว่า มักเป็นพวกที่ชอบความรุนแรง ใช้อารมณ์อยู่เหนือเหตุผล หรือเป็นพวกซาดิสท์ เป็นต้น ในทางกลับกัน คนที่คุณมอบความรักเช่นนี้ให้ ก็จะเหลิงและเป็นคนหลงตัวเอง เหมือนเด็กที่ถูกตามใจมากจนเกินไป จะเรียกร้องเอาสิ่งต่าง ๆ มากมายโดยไม่รู้จักพอ แต่กลับไม่เห็นคุณค่าของความรักที่คุณให้เท่าไรนัก ในที่สุดความสัมพันธ์เช่นนี้ก็ต้องจบลง เพราะมันอยู่บนพื้นฐานของอารมณ์ ไม่ใช่สิ่งที่เราเรียกว่า "ความรัก"

4) ความรักเป็นเรื่องของความรู้สึกเท่านั้น

คิดเช่นนี้ก็ยังไม่เรียกว่าเป็น "ความรัก" จริงอยู่ที่ว่าความรักเกิดจากความรู้สึกที่ดีของคนสองคนมาปรับเขาหากัน แต่ความรักที่แท้จริงนั้นจะต้องรวมถึงความมุ่งมั่นที่ทั้งสองฝ่ายจะพยายามประคับประคองจิตใจและความรู้สึกของกันและกัน ซื่อสัตย์ต่อกัน และเอาใจใส่ดูแลซึ่งกันและกัน เพื่อสร้างสถาบันครอบครัวให้เข้มแข็งและมีความสุขต่อไป

"ความรัก" ในมุมมองของผู้แต่งนั้นเป็นสิ่งที่มีพลังมาก ความรักที่บริสุทธ์ย่อมสามารถละลายพฤติกรรมอีกฝ่ายให้เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีได้ และความรักที่แท้จริงนั้น ไม่ใช่แค่การกล่าวคำว่า "รัก" แต่จะเป็นความรักที่แสดงออกด้วยการกระทำอย่างต่อเนื่อง และเปี่ยมไปด้วยความปรารถนาดีที่อยากให้อีกฝ่ายมีการพัฒนาคุณภาพจิตใจที่ดีขึ้น มีวุฒิภาวะสูงขึ้น และมีความเข้มแข็งสามารถอยู่ได้ด้วยตนเอง นอกจากนั้น ความรักที่แท้จริงนั้น จะต้องเกิดจากการทะนุถนอมและเอื้ออาทรซึ่งกันและกันทั้งกาย วาจา และใจ ทั้งสองฝ่ายจะต้องรู้จักระมัดระวังคำพูดและการกระทำของตนเอง ไม่ให้กระทบกระเทือนจิตใจของคนที่คุณรัก อย่างไรก็ตาม ทุกอย่างจะตั้งอยู่บนพื้นฐานของคุณธรรม ความถูกต้อง และจะต้องอยู่ในความพอดี เพื่อพัฒนาและยกระดับจิตใจซึ่งกันและกัน

3.การเข้าถึงพลังธรรมชาติ (Grace)

ผู้แต่งเชื่อว่า รอบตัวเรานั้นมีพลังธรรมชาติที่คอยเกื้อหนุนเราอยู่ตลอดเวลา โดยอาจจะออกมาในรูปของความฝัน ลางสังหรณ์ หรือสัมผัสที่6 เป็นต้น แต่เรามักมองข้ามสิ่งเหล่านั้นไปเพราะมนุษย์มักง่วนคิดอยู่ตลอดเวลา ขาดการเอาใจใส่หรือสังเกตสิ่งรอบข้าง ขาดการรู้เนื้อรู้ตัว หรือใจลอย เป็นต้น ดังนั้น หากเราต้องการจะดึงเอาพลังธรรมชาติที่มีอยู่อย่างมหาศาลรอบ ๆ ตัวเรามาใช้นั้น เราจะต้องรู้เนื้อรู้ตัวอยู่ตลอดเวลา ตั้งใจพูด ตั้งใจทำ หัดสังเกตพฤติกรรม น้ำเสียง ความคิดของตนเองและบุคคลรอบข้าง และหัดประคับประคองจิตใจให้สบาย ๆ ไม่ตึงเครียด เมื่อจิตใจเบาสบายก็เหมือนแก้วใส จึงจะสามารถสะท้อนความเป็นจริงและดูดซับพลังธรรมชาติอันบริสุทธิ์มาใช้

Three Key Survival Skills for New Business Owners

The first year of a new business is the toughest. It's the make-it-or-break-it year. The challenges a new business owner faces on a daily basis require three key survival skills: self-reliance, self-direction, and resilience. No matter how brilliant the business idea, without these three skills entrepreneurs risk failure.
  • Self-Reliance

It's a fact of life that every small business owner wears many hats to fill all functions: operations, sales, marketing, finance, human resources-even janitor and chief coffee-maker when needed. Unlike life in corporate America, where each employee has a specialized area of expertise, a new business owner must excel in all of the disciplines required to keep a small business running smoothly. The revenue drain of hiring employees can spell disaster for struggling new businesses.

Self-reliance means more than wearing many hats. It also means depending on self for motivation, discipline and decision making and accountability. The true entrepreneur doesn't need a cheering squad to keep going. The self-reliant business owner is highly skilled at "picking himself up by the boot straps." Without that all-important sense of self-reliance, critical decisions will be delayed and opportunities will be missed.

If you find yourself lacking self-reliance, do a total skills inventory to identify the gap that is holding your business back from prospering to your expectations. Rate yourself on a scale of one to four on each skill needed to run your business. Identifying which skills you are deficient in is the first step toward getting help to solve the problem.

  • Self-Direction

One of the toughest challenges for new business owners is strategic planning: the ability to plan for multiple contingencies to reduce risk of failure. The self-directed entrepreneur analyzes market conditions to anticipate setbacks and defines alternative revenue sources to avoid costly earnings slumps.

Equally important, the self-directed business owner should be efficient in executing daily, weekly and monthly activities crucial to maintaining a continual sales pipeline and revenue stream. A successful entrepreneur needs no supervisor to keep him on track.

Unfortunately, not many people excel at both strategic planning and day-to-day tactical efforts. If you are an entrepreneur who gravitates to "the big picture," daily and weekly task lists will help keep you on track toward your revenue goals. Invest in tools to minimize your busy work so that important data like customer contact information can be easily accessed, yet maintained with minimal effort.

On the flip side, highly detail-oriented business owners without a strategic plan suffer from lack of direction. Make time at least quarterly to consider questions like: "What could I do long-term to improve the efficiency of my operations?" or "What could I be doing differently to attract the kind of customers I prefer?"

  • Resiliency

While it is often true that persistence pays off, resiliency is a more essential skill to new business owners. Resiliency is the ability to change direction when needed. It is the 'bounce back" effect that is truly necessary to avoid business failure.

In business, change is constant:

* Economic conditions can reduce consumer spending

* Shifts in consumer tastes make your product out-of-date

* Improvements in technology make your inventory obsolete

Any or all of these things can mean increased competition and loss of market share for your business. You have to be prepared to deal with them--before they happen.

Those who lack resiliency fall victim to self doubt that all too often means the end of a promising new business. To increase resiliency, practice the old-fashioned skill of "getting back on the horse." When things don't work out as planned, do not stop to anguish over the situation. Immediately consider the best alternative actions to take. Take action as soon as possible. Even a less-than-perfect action plan will get you moving in a positive direction and avoid the stall of self doubt and despair.

A new business owner who builds up his or her self-reliance, self-direction and resiliency will greatly increase the odds of surviving that first year in business. And after the first year, your survival skills will ensure that you are well on your way to many more years of success. credit by Deborah Walker