กลยุทธ์ในการปลิดเรื่องหยุมหยิมออกจากใจ

“The greatest discovery of my generation is that a human being can alter his life by altering his attitude.”
By William James
สิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่ข้าพเจ้าได้ค้นพบในช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่ก็คือการที่มนุษย์เราสามารถเปลี่ยนชีวิตได้หากคนคนนั้นรู้วิธีเปลี่ยนทัศนคติ หรือมุมมองต่อโลกโดย William James
เนื้อหาของรายการในวันนี้ได้ถูกหยิบยกมาจากหนังสือเรื่อง “Don’t sweat the small stuff. It’s all small stuff.” อย่าไปสนใจเรื่องปลีกย่อยเล็กๆน้อยๆ เพราะมันเป็นแค่เรื่องปลีกย่อยเท่านั้น ผู้แต่งคือ Richard Carlson

ผลเสียของการหัวเสียกับเรื่องเล็กๆ น้อยๆ
1. ทำให้เราสูญเสียพลังกายและพลังสมองโดยไม่จำเป็น ผลก็คือไม่สามารถทำให้เป้าหมายในชีวิตเป็นรูปธรรมได้
2. ยิ่งคิดยิ่งลงลึกเหมือนอย่าง Snow Ball คือนำปัญหาเล็กๆมาคิด จนกลายเป็นปัญหาใหญ่ไปในที่สุด
3. จิตใจไร้ซึ่งความผ่องใส เนื่องจากมีความกังวลอยู่ตลอดเวลา ทำให้จิตใจไม่โล่ง โปร่ง สบาย
4. เกิดการทะเลาะกันอย่างไม่มีที่สิ้นสุด นั่นก็เพราะต่างฝ่ายต่างหาเหตุผลมาปกป้องตนเองให้พ้นจากความผิด

สาเหตุของการคิดจดจ่อกับเรื่องเล็กๆน้อย
1. มนุษย์ส่วนใหญ่ชอบทำตัวเป็นไม้บรรทัดวัดคนอื่น โดยยัดเยียดระบบหรือกรอบความคิดของตนเองให้กับผู้อื่น
2.
มนุษย์ส่วนใหญ่ต้องการพิสูจน์ว่าตนถูก
3.
มนุษย์ไม่มีความอดทน อดกลั้น ไม่มีตบะ และไม่มีโสรัจจะ
4.
มนุษย์มักคิดว่าโลกนี้ไม่ยุติธรรม และเรียกร้อง Absolute Justice Richard Carlson กล่าวว่า ความไม่ยุติธรรมนั้นเป็นธรรมดาของโลกนี้ การยิ่งบ่นว่าโลกไม่ยุติธรรมยิ่งทำให้ปัญหาบานปลายมากขึ้น
5.
มนุษย์บอกกับตัวเองว่าเราขาดแคลนอะไร มากกว่าจะบอกกับตัวเองว่าเรามีอะไรบ้าง ทำให้ไม่เคยชื่นชมในสิ่งที่ตัวเองทำ จึงเกิดความไม่พอใจอยู่ทุกขณะ
6.
มนุษย์เราชอบตำหนิผู้อื่นมากกว่าตำหนิตนเอง ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ความผิดพลาดใดๆ ก็ตามที่เกิดขึ้นเราเองต้องมีส่วนร่วมในการทำให้มันเกิดขึ้นด้วยไม่มากก็น้อย
7.
มนุษย์เราชอบไปยุ่งกับปัญหาของคนอื่นมากเกินไป การจะเข้าไปช่วยเหลือใครนั้นต้องพิจารณาว่าท่านควรช่วยเขาหรือไม่ และเขายินดีให้ท่านช่วยหรือไม่ และที่สำคัญคือท่านต้องไม่ทำอะไรเกินตัว

วิธีง่ายๆ ในการป้องกันไม่ให้ตนเองหัวเสีย
1. จงเลือกสิ่งที่ท่านจะให้ความสนใจ แทนที่จะสนใจในทุกเรื่อง
2.
เลิกพฤติกรรมการแสดงออกเพื่อให้ได้รับการยอมรับจากผู้อื่น เนื่องจากมนุษย์แต่ละคนมี set of standard ไม่เหมือนกัน ดังนั้นถ้าคิดว่าสิ่งที่ท่านทำเหมาะสมแล้วก็ไม่ต้องไปใส่ใจว่าทุกคนต้องเห็นด้วยกับเรา
3.
เลิกสนใจว่าคนอื่นทำหน้าที่ของเขาดีหรือยัง ให้สนใจว่าท่านได้ทำสิ่งที่ควรจะทำ สมบูรณ์แล้วหรือยัง
4.
เมื่อมีคนมาวิพากษ์วิจารณ์ท่าน ให้ฟังแล้วพิจารณาว่ามีจุดไหนที่เป็นประโยชน์กับเราบ้าง เพื่อนำมาปรับปรุงชีวิตของเราให้ดีขึ้นชีวิตที่ไม่มีการพัฒนาและยกระดับคุณภาพจิตใจ ก็ไม่แตกต่างกับต้นไม้ที่ใกล้ตาย

หนทาง 10 ประการในการสร้างพลังชีวิต (Life Vitality)
1. ฝึกคิดแต่สิ่งที่มีประโยชน์
คิดแต่สิ่งที่มีประโยชน์เช่น ความเมตตา ความสงบ ความอดทน เพราะการคิดเช่นนี้จะทำให้จิตใจไม่ขุ่นมัว
สร้างมิติใหม่ในการมองโลก คนเราถ้ามองบวกก็บวก ถ้ามองลบก็ลบ มนุษย์สามารถเปลี่ยนชีวิตได้หากคนคนนั้นรู้วิธีการเปลี่ยนทัศนคติ หรือมุมมองต่อโลก
ยอมรับในความแตกต่าง และอย่าพยายามJudge คนอื่นว่าเขาเป็นคนดีหรือชั่ว พระเจ้า ยังไม่เคยตัดสินใครจนกว่าจะถึงวันสุดท้ายของเขา ทำไมท่านและข้าพเจ้าจึงด่วนตัดสินคนอื่นเล่าดังนั้นเราจึงไม่ควรไปตัดสินว่าใครดีหรือเลว เพราะคนเราสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้หากแม้ยังไม่ถึงวันสุดท้ายของชีวิต
ฝึกคิดแต่สิ่งที่มีประโยชน์ เช่นคิดถึงคนที่เรารัก เคารพ และนับถือ เพราะจะทำให้เราเกิดความสบายใจ และความคิดที่เป็น negative ต่างๆจะได้ไม่มีเนื้อที่มากนักในจิตใจของเรา
ออปปร่า วินฟรี หนึ่งในมหาอัครเศรษฐีนีของ อเมริกา เขียน Journal ทุกวัน ว่าวันนี้ได้ทำสิ่งดีๆ ให้ใครบ้าง หรือได้รับสิ่งดีๆ จากใครบ้าง เพื่อให้ตนเองจดจำเฉพาะสิ่งที่ดีๆ ในชีวิต
ถ้ามีอกุศลจิตเกิดขึ้นในจิตใจเรา เราต้องรีบปล่อยความคิดนั้นและคิดเรื่องใหม่ที่ดีและมีประโยชน์ต่อชีวิตแทน
คิดในทางบวก เชื่อหรือไม่ว่าผู้ที่ประสบความสำเร็จทุกคนต่างก็มีความคิดที่เป็น Positive ทั้งนั้น

2. ฝึกจิตให้สงบ (จิตยิ่งว่างเปล่ายิ่งเกิดพลัง จิตที่มีพลังจะสามารถมองสิ่งต่างๆ ได้ตรงตามความเป็นจริง ในลักษณะที่มันเป็นอยู่ ไม่ใช่ตามที่เราอยากให้มันเป็น หรือในลักษณะที่มันเคยเป็นในอดีต)
ใช้วิธีการ Breathing meditation นั่นก็คือการเฝ้ากำหนดดูลมหายใจเพื่อให้จิตสงบไม่วุ่นวาย
ยอมรับทุกอารมณ์ที่เกิดขึ้นกับเราไม่ว่าจะเป็นทางบวกหรือลบ สุข ทุกข์ หรือเฉยๆ เพราะการยอมรับเท่ากับเป็นการระบายความเครียดออกจากจิต ทำให้เราเห็นตัวเองชัดขึ้น และเข้าใจคนอื่นมากขึ้น
เรียนรู้วิธีการถ่อมตน ไม่ยกตนข่มท่าน (Humility) นั่นก็คือการลดความรู้สึกตัวกูของกูให้เล็กลง โดยคิดว่าเหนือฟ้ายังมีฟ้าและ ความรู้ในโลกนี้ไม่มีจบสิ้นเมื่อไรก็ตามที่เราคิดว่าเรารู้รอบหมดแล้ว จะทำให้หยุดพัฒนาตนเอง

3. ฝึกการให้ เพราะ การให้เป็นคุณธรรม
ให้โดยไม่หวังผลตอบแทน การให้ที่หวังผลตอบแทนนั้น ไม่เรียกว่าการให้ที่แท้จริง
ให้กับคนที่เขาไม่คาดคิดว่าเราจะให้ เพราะผู้รับจะอิ่มเอิบใจ และผู้ให้ก็ภูมิใจด้วย

4. มี Unconditional Love คือความรักที่ไม่เลือกปฏิบัติ
ให้ความรักโดยไม่เลือกปฏิบัติ เช่นกรณีของ แม่ชีเทเรซ่า ให้ความช่วยเหลือคนยากคนจน ทั้งๆ ที่คนเหล่านั้นไม่สามารถตอบแทนอะไรต่อแม่ชีเทเรซ่าได้
ไม่ดูถูกคน ไม่เหยียดหยามประนามคน Richard Carlson กล่าวว่าถ้าท่านยังเมตตาคนไม่ได้ให้ท่านหัดมองสีหน้าของคนที่ท่านกำลังวิพากษ์วิจารณ์เขา แล้วท่านจะเกิดความเมตตาขึ้นเองตามธรรมชาติ
หากยังแสดงความรักกับทุกคนไม่ได้ ก็ให้เริ่มกับคนใกล้ชิดก่อน เช่น บอกเขาว่าเราชื่นชมเขาในแง่ไหน

5. ยอมรับปัญหา และอุปสรรค ว่าเป็นสิ่งควบคู่กับชีวิตมนุษย์
เมื่อเจอปัญหาหรืออุปสรรค ให้ดูว่าเราได้เรียนรู้อะไรจากมันบ้าง
ให้มองว่าปัญหาเปรียบดั่งเมฆบนท้องฟ้า หรือคลื่นในมหาสมุทร มาและไปอย่างไม่มีวันหยุดยั้ง ในวิถีของตะวันตกเชื่อว่าอุปสรรคต่างๆ ในชีวิตเป็นบทเรียนที่พระเจ้าประทานให้มา เพื่อให้มนุษย์มีการพัฒนาบุคลิกภาพและสติปัญญา ให้สูงยิ่งขึ้นไปเรื่อยๆ ยิ่งเราพัฒนาได้สูงขึ้น พระเจ้าก็จะยิ่งส่งข้อสอบที่ยากขึ้นกว่าเดิมมาให้ การคิดเช่นนี้ ชี้ให้เห็นว่าปัญหาและอุปสรรค เป็นเรื่องธรรมดาที่จะต้องควบคู่กับชีวิตเราตลอดไป

6. มองความสำเร็จในแง่ใหม่
ความสำเร็จไม่ใช่เรื่องของวัตถุนิยม หากคือการที่เราสามารถพัฒนาคุณภาพจิตใจให้มีคุณธรรมมากขึ้นต่างหาก
ความสำเร็จคือ การต่อสู้กับตัวเอง ในการจัดเป้าหมาย และPriorityให้ชีวิต
ความสำเร็จคือ การสนุกกับสิ่งที่คุณกำลังทำในแต่ละขณะ (Enjoin each moment in your life.)
ความสำเร็จคือ การที่รู้ตัวว่าเราอยากทำอะไรถ้าวันนี้เป็นวันสุดท้ายของชีวิต และเราก็กำลังทำสิ่งนั้น

7. เชื่อใน Intuitive Heart หรือ Inner Voice
หัด Feel และเข้าถึง Gut Feeling คือลองฟังเสียงลึกๆ ภายในใจเรา ว่าสิ่งที่เราทำอยู่นั้นถูกหรือไม่ และลึกๆ แล้วเราอยากทำสิ่งนี้จริงหรือไม่

8. รู้จักพักผ่อน
การพักผ่อนคือการที่เรามีความสงบและสบายใจ ณ ตอนนี้เวลานี้ ไม่จำเป็นต้องรอพักร้อน หรือรอเกษียณ
เมื่อกายและจิตได้พักก็จะไม่เครียด และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์จึงจะเกิดขึ้น

9. หัดเปิดโลกทัศน์ใหม่ๆ
หัดอ่านหนังสือ และไปเที่ยว เลิกทำตัวเป็น A little green frog in a small coconut shell. ลองอ่านหนังสือที่ท้าทายความคิด เลิกทำตัวเป็นเจ้ากบน้อยในกะลาใบเล็กๆ คนเก่งต้องมองสิ่งต่างๆ ในสถานการณ์หนึ่งได้หลายมิติ และเลือกมิติได้ถูกต้อง
ลดทิฐิมานะ และกล้าที่จะให้คนอื่นวิพากษ์วิจารณ์เราแล้วนำมาปรับปรุงตัว

10. ประคองจิตใจให้ผ่องใส
ปัจฉิมโอวาทของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากล่าวไว้ว่า จงทำดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตใจให้ผ่องใสคำกล่าวนี้เป็นแก่นของพระพุทธศาสนา นั่นก็คือในที่สุดแล้วจะต้องทำจิตใจให้ผ่องแผ้ว พูดดี ทำดี คิดดี

Three Key Survival Skills for New Business Owners

The first year of a new business is the toughest. It's the make-it-or-break-it year. The challenges a new business owner faces on a daily basis require three key survival skills: self-reliance, self-direction, and resilience. No matter how brilliant the business idea, without these three skills entrepreneurs risk failure.
  • Self-Reliance

It's a fact of life that every small business owner wears many hats to fill all functions: operations, sales, marketing, finance, human resources-even janitor and chief coffee-maker when needed. Unlike life in corporate America, where each employee has a specialized area of expertise, a new business owner must excel in all of the disciplines required to keep a small business running smoothly. The revenue drain of hiring employees can spell disaster for struggling new businesses.

Self-reliance means more than wearing many hats. It also means depending on self for motivation, discipline and decision making and accountability. The true entrepreneur doesn't need a cheering squad to keep going. The self-reliant business owner is highly skilled at "picking himself up by the boot straps." Without that all-important sense of self-reliance, critical decisions will be delayed and opportunities will be missed.

If you find yourself lacking self-reliance, do a total skills inventory to identify the gap that is holding your business back from prospering to your expectations. Rate yourself on a scale of one to four on each skill needed to run your business. Identifying which skills you are deficient in is the first step toward getting help to solve the problem.

  • Self-Direction

One of the toughest challenges for new business owners is strategic planning: the ability to plan for multiple contingencies to reduce risk of failure. The self-directed entrepreneur analyzes market conditions to anticipate setbacks and defines alternative revenue sources to avoid costly earnings slumps.

Equally important, the self-directed business owner should be efficient in executing daily, weekly and monthly activities crucial to maintaining a continual sales pipeline and revenue stream. A successful entrepreneur needs no supervisor to keep him on track.

Unfortunately, not many people excel at both strategic planning and day-to-day tactical efforts. If you are an entrepreneur who gravitates to "the big picture," daily and weekly task lists will help keep you on track toward your revenue goals. Invest in tools to minimize your busy work so that important data like customer contact information can be easily accessed, yet maintained with minimal effort.

On the flip side, highly detail-oriented business owners without a strategic plan suffer from lack of direction. Make time at least quarterly to consider questions like: "What could I do long-term to improve the efficiency of my operations?" or "What could I be doing differently to attract the kind of customers I prefer?"

  • Resiliency

While it is often true that persistence pays off, resiliency is a more essential skill to new business owners. Resiliency is the ability to change direction when needed. It is the 'bounce back" effect that is truly necessary to avoid business failure.

In business, change is constant:

* Economic conditions can reduce consumer spending

* Shifts in consumer tastes make your product out-of-date

* Improvements in technology make your inventory obsolete

Any or all of these things can mean increased competition and loss of market share for your business. You have to be prepared to deal with them--before they happen.

Those who lack resiliency fall victim to self doubt that all too often means the end of a promising new business. To increase resiliency, practice the old-fashioned skill of "getting back on the horse." When things don't work out as planned, do not stop to anguish over the situation. Immediately consider the best alternative actions to take. Take action as soon as possible. Even a less-than-perfect action plan will get you moving in a positive direction and avoid the stall of self doubt and despair.

A new business owner who builds up his or her self-reliance, self-direction and resiliency will greatly increase the odds of surviving that first year in business. And after the first year, your survival skills will ensure that you are well on your way to many more years of success. credit by Deborah Walker