จะมัดใจเจ้านายได้อย่างไร

How to Manage Your Boss หนังสือที่จะนำเสนอคือ How to Manage Your Boss แต่งโดย Ros Jay ว่าด้วยเรื่องวิธีการปฏิบัติตนและการวางตัวที่จะสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเจ้านาย การปรับตัวให้เข้ากับเจ้านายทำได้อย่างไร วิธีการเหล่านี้ จะทำให้เรากลายเป็นบุคลากรที่มีค่า ได้รับการเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง เป็นที่รักของเพื่อนร่วมงาน สามารถทำงานได้อย่างมีความสุข กลวิธีดังกล่าว มีดังต่อไปนี้

ต้องรู้จักที่จะเข้าใจเจ้านาย
1.
อย่ามองเจ้านายเป็นดั่งเทวดาที่จะทำผิดไม่เป็น เพราะเจ้านายก็เป็นมนุษย์ปุถุชนธรรมดาคนหนึ่งเหมือนกับเรา นอกจากนั้น ต้องมองให้ออกว่าว่าเจ้านายเป็นบุคคลประเภทไหนด้วย เพื่อที่จะสามารถปรับตัวเข้าหาเจ้านายได้อย่างถูกวิธี โดยผู้แต่งแบ่งประเภทของเจ้านายไว้ ดังนี้
1)
เจ้านายที่มีลักษณะเป็นแบบข้าราชการ คืออนุรักษ์นิยม ทำงานตามกฎระเบียบทุกขั้นตอน ห้ามข้ามขั้นตอน และไม่ชอบความเสี่ยง เมื่อเจอเจ้านายประเภทนี้ ไม่ควรเสนองานที่มีความเสี่ยง หรือนอกกรอบ หรืองานที่ต้องให้เจ้านายตัดสินใจในสถานการณ์ที่ไม่มีอะไรแน่ชัด ต้องคาดเดา เพราะท่านจะไม่ชอบและอึดอัด และในฐานะลูกน้องจะต้องทำตัวเรียบร้อย มีสัมมาคารวะ รู้จักที่ต่ำที่สูง เพราะเจ้านายประเภทนี้จะหัวโบราณ จะรับไม่ได้ถ้าลูกน้องทำตัวปีนเกลียว หรือข้ามหน้าข้ามตา
2)
เจ้านายที่ทำตัวสบาย ๆ ไม่เคร่งเครียด หากเราทำตัวเคร่งเครียดจนเกินไปเจ้านายจะไม่ชอบ
3)
เจ้านายที่ชอบให้ลูกน้องมาขอปรึกษาและขอคำชี้แนะบ่อย ๆ
4)
เจ้านายที่ชอบให้ลูกน้องรู้จักคิด รู้จักทำงานเอง ไม่ชอบให้มาถามบ่อย ๆ ขอเป็นผลงานที่เสร็จสมบูรณ์มานำเสนอก็พอ
5)
เจ้านายที่ชอบลงรายละเอียดปลีกย่อยในทุก ๆ จุด การนำเสนอต้องรอบคอบครบถ้วน ไม่ขาดตกบกพร่อง (สนใจระดับ micro)
6)
เจ้านายที่ชอบมองภาพรวม การนำเสนองานต้องสั้น กระชับ และไม่เยิ่นเย้อ (สนใจระดับ macro)
7)
เจ้านายที่ชอบให้นำเสนอแนวความคิดใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลาโดยไม่สนใจว่างานเก่าจะทำเสร็จแล้วหรือยัง (proactive)
8)
เจ้านายที่ชอบให้งานเสร็จสิ้นทีละงาน ๆ จะไม่สนใจโครงการใหม่จนกว่างานเก่าจะเสร็จสมบูรณ์ (reactive)
2.
ทราบถึงจุดอ่อน จุดแข็งของเจ้านาย ในส่วนที่เป็นจุดแข็งนั้นเราสามารถนำมาเป็นแบบอย่างได้ และจุดด้อยเราควรที่จะหลีกเลี่ยงไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยว เมื่อรู้ว่าจุดนี้คือจุดด้อยของเขา เราก็จะไม่คาดหวัง เมื่อไม่คาดหวังก็ไม่มีความผิดหวัง ดังนั้น จะทำให้เราทำงานกับเจ้านายได้อย่างราบรื่นยิ่งขึ้น และจะลดอคติต่อเจ้านายได้
3.
ทราบถึงสิ่งที่ทำให้เจ้านายพอใจ เมื่อเราทำในสิ่งที่เจ้านายต้องการ อาการที่ว่า ทำไมทำงานตั้งหลายปี ตั้งใจทำงานหามรุ่งหามค่ำ แต่ก็ยังไม่ได้รับการชื่นชมหรือเลื่อนขั้น คงจะไม่เกิดขึ้น จงอย่าคิดว่าเราขยันทำงาน ซื่อสัตย์ต่อองค์กร ยังไงเจ้านายก็ต้องเห็น สิ่งนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเสมอไป เพราะผู้บริหารมีงานมากมาย ไม่มีเวลาสนใจเรื่องปลีกย่อยมากนัก ดังนั้น ผลงานที่เจ้านายต้องการเท่านั้น จึงจะเป็นสิ่งที่แสดงถึงศักยภาพของคุณให้เจ้านายได้เห็น
4.
ทราบถึงสิ่งที่ทำให้เจ้านายไม่พอใจ หรือเคร่งเครียด เช่น เจ้านายไม่ชอบเห็นลูกน้องทะเลาะกัน เจ้านายที่ไม่ชอบเสียงเอะอะโวยวายในที่ทำงาน เป็นต้น จุดเล็กน้อยเหล่านี้เป็นสิ่งไม่ควรมองข้ามไป เพราะอาจจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้คุณไม่เจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน
5.
เมื่อมองเห็นภาพรวมทั้งหมดของเจ้านายแล้ว ก็ต้องรู้ว่าสิ่งใดเป็นสิ่งที่เจ้านายรับไม่ได้ เช่น เจ้านายเป็นคนที่ถือยศถือศักดิ์ ถือเนื้อถือตัว เมื่อเราเป็นลูกน้องก็ต้องรู้จักที่สูงที่ต่ำ มีสัมมาคารวะ มีกาลเทศะ หรือเจ้านายกลัวที่จะโดนต่อว่าจากผู้บังคับบัญชาระดับสูง เราก็ต้องขยันผลิตผลงานและเสนองานให้ตรงเวลา เป็นต้น ในการทำงานหากเราแหกกฎตรงจุดนี้การเจริญรุ่งเรืองในหน้าที่การงาน คงเป็นไปได้ยาก

ลูกน้องในแบบที่เจ้านายชอบ
1. บุคลิกท่าทางลักษณะภายนอก และการแต่งตัวต้องให้เหมาะสม และเข้ากันได้กับเจ้านาย เช่น เจ้านายเป็นคนแต่งตัวประณีต เรียบร้อย เป็นทางการ เราซึ่งเป็นลูกน้องก็ไม่ควรแต่งตัว ลำลองจนเกินไป จนดูไม่ให้ความเคารพต่อเจ้านาย และในทางกลับกันหากเจ้านายแต่งตัวธรรมดา สบาย ๆ เราก็ไม่ควรแต่งแบบหรูเลิศอลังการ จนเกินหน้าเกินตาเจ้านาย เพราะจะทำให้เกิดความแปลกแยก และที่สำคัญมนุษย์เรามักชอบคนที่คิดเหมือนตนเอง ชอบอะไรที่คล้ายกับตนเอง ซึ่งเป็นธรรมดาของมนุษย์ และหากเจ้านายมองเราว่า ไม่เข้าพวก แล้วนั้น การทำงานให้เข้าตาเจ้านายคงต้องอาศัยความพยายามอย่างมาก
2.
ต้องมีความมั่นใจในตนเอง เมื่อเจ้านายมอบหมายงาน ต้องมีความกล้าที่จะรับอาสา แต่ที่สำคัญเราต้องรู้ศักยภาพของตนเองอย่างแท้จริงด้วยว่า อะไรคือสิ่งที่เราทำได้ทำไม่ได้ อะไรคือสิ่งที่ควรทำไม่ควรทำ และผลที่ออกมานั้นตรงกับความต้องการขององค์กรหรือไม่ เมื่อเราเห็นตัวเองชัดเจน ความมั่นใจจะเกิดขึ้น และเมื่อรวมกับความกล้าที่จะคว้าโอกาสที่เจ้านายมอบให้ เมื่อมีผลงานเจ้านายก็จะไว้วางใจ และมอบหมายงานให้ทำมากขึ้น เมื่อนั้นแล้วเส้นทางแห่งความสำเร็จคงอยู่ไม่ไกล
3.
มีความกระตือรือร้น กระฉับกระเฉง มีชีวิตชีวา สิ่งเหล่านี้จะทำให้เรามีความมั่นใจ และดูน่าเชื่อถือในสายตาของคนรอบข้าง
4.
มองโลกในแง่ดี รู้จักแก้ปัญหา มากกว่าสร้างปัญหา ไม่ตีโพยตีพาย มองปัญหาเป็นเรื่องธรรมดาที่ต้องเผชิญ มีความใจเย็น ควบคุมการแสดงออกทางอารมณ์ได้ดี
5.
เป็นที่ชื่นชอบของผู้อื่น ไม่เป็นคนเจ้าปัญหา ถึงแม้ว่าต่อหน้าเจ้านายเราจะทำดีทุกอย่าง แต่ถ้าลับหลัง ไปก่อเรื่องจนร้อนถึงหูเจ้านายอยู่บ่อย ๆ เจ้านายคงรับไม่ได้เช่นกัน ดังนั้น การทำตัวให้เป็นที่รักของผู้อื่น ทำได้ดังนี้
1)
มีอารมณ์ขัน
2)
ไม่นินทาว่าร้ายผู้อื่น
3)
ไม่เย่อหยิ่งจองหอง
4)
ไม่ดูถูกผู้อื่น
5)
เป็นผู้ฟังที่ดี
6.
เป็นที่ไว้วางใจ คือต้องสามารถเก็บความลับของผู้อื่นได้ มีความรับผิดชอบในสิ่งที่ได้รับมอบหมาย และต้องมีสัจจะ พูดแล้วต้องทำให้ได้อย่างที่พูด หากไม่แน่ใจว่าจะทำได้ก็อย่าพูดเสียดีกว่า
7.
ต้องมีการบริหารจัดการเวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตรงต่อเวลา เสนอผลงานได้ทันตามเวลาที่กำหนด

การสร้างความประทับใจและมีความสัมพันธ์ที่ดีเยี่ยมกับเจ้านาย
1.
ต้องทำตัวให้เป็นที่รู้จักและชื่นชอบในที่ทำงาน มีภาพพจน์ของคนที่ตั้งใจทำงาน เห็นงานสำคัญกว่าเรื่องส่วนตัว มีน้ำใจกับเพื่อนร่วมงาน มีความเสียสละและช่วยเหลือเพื่อนร่วมงานอย่างเต็มที่ และเท่าเทียมกัน
2.
มีความใจกว้าง รู้จักอาสา หรือแสดงน้ำใจที่จะทำงาน นอกเหนือจากที่ได้รับมอบหมาย
3.
มีความสามารถในการเรียบเรียงข้อมูล คือมีทักษะในด้านการเขียน และการใช้ภาษา เช่นความสามารถในการเขียนรายงานการประชุม การเขียนของบประมาณ เป็นต้น
4.
สามารถยอมรับความเป็นจริงและรับฟังข้อวิพากษ์วิจารณ์จากผู้อื่นได้ การที่ผู้อื่นตักเตือนเราแสดงว่า เขาอยากให้เราดี อยากให้เราปรับปรุง แต่ถ้าเราไม่ยอมรับ ในความผิดพลาดของตัวเอง และต่อว่าอาละวาดกลับไป ก็จะไม่มีใครกล้าที่จะตักเตือนและสอนสั่งเราอีก เมื่อนั้นแล้ว เส้นทางแห่งความสำเร็จของเราก็จะจมดิ่งและดักดานอยู่ที่จุดเดิม เมื่อเราเองยังไม่ยอมแก้ไขแล้วใครเล่าจะแก้ให้เราได้
5.
ยกย่อง ชื่นชมเจ้านาย แต่อย่าประจบประแจง การจะชมเจ้านายต้องมาจากจิตใจและความรู้สึกว่า เจ้านายนั้นเก่งจริงดีจริง หากไม่รู้สึกชื่นชมก็ไม่ต้องชม เพราะจะเป็นการเสแสร้งไม่จริงใจ และการชมต้องให้ถูกกาลเทศะด้วย ไม่ใช่ชมตลอดเวลาถึงแม้ว่าเจ้านายจะเก่งอย่างที่ชมก็ตาม มิฉะนั้นแล้ว จะกลายเป็นการประจบสอพลอไป
6.
มีความซื่อสัตย์มีน้ำใจกับเจ้านาย ไม่นินทา หรือใส่ร้ายเจ้านายลับหลัง

หากคิดจะประสบความสำเร็จ สิ่งที่ห้ามทำได้แก่
1.
ห้ามสุรุ่ยสุร่ายใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ใช้จ่ายเงินของบริษัทอย่างไม่คิดหน้าคิดหลัง เพราะคิดว่าไม่ใช่เงินของตัวเอง
2.
อย่าทำลายความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงาน
3.
ห้ามข้ามหน้าข้ามตาเจ้านาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อหน้าสาธารณชน หากเป็นสิ่งที่เราไม่เห็นด้วยจริง ๆ ก็ให้ไปคุยนอกรอบในที่ส่วนตัว เพื่อเป็นการแสดงความเคารพต่อเจ้านาย
4.
อย่าไปรบกวนเจ้านายเวลาที่งานยุ่งอยู่ อย่าคิดว่าเรานั้นสำคัญที่สุด เจ้านายต้องสนใจเราเสมอ เพราะการทำเช่นนี้ จะแสดงว่าเป็นคนที่ไม่รู้จักกาลเทศะ หรือคิดเองไม่เป็น ตัดสินใจเองไม่เป็น ต้องถามคนอื่นอยู่ตลอดเวลา หากเป็นเรื่องที่ต้องปรึกษาจริง ๆ ให้ขอนัดเวลากับเจ้านาย
การประพฤติตนและให้ความเคารพต่อเจ้านาย นั้น ต้องอยู่ในความพอดี ไม่มากหรือไม่น้อยจนเกินไป เพราะถ้ามากไปจะมีลักษณะคือ ไม่กล้าพูด กลัวเจ้านายไม่พอใจ รู้สึกอย่างไรก็ไม่พูด พูดเฉพาะที่เจ้านายอยากจะได้ยิน ไม่ผิดก็ขอโทษไว้ก่อน ไม่มีคำว่าปฏิเสธออกจากปากลูกน้องประเภทนี้ ซึ่งดูแล้วเหมือนจะดี แต่เจ้านายที่เก่ง มีความสามารถ มักจะไม่ชอบลูกน้องประเภทนี้ เพราะมักจะไม่ค่อยมีจุดยืน ไม่ค่อยมีความมั่นใจ ไม่มีความคิดสร้างสรรค์มากนัก ไม่มีความเป็นผู้นำ ดังนั้น เจ้านายจึงไม่ค่อยสนับสนุนหรือมอบหมายงานที่สำคัญให้ เพราะไม่มั่นใจว่าจะทำได้
แต่หากเป็นลูกน้องที่ตั้งใจทำงานเพื่อองค์กรมาก จนยอมทะเลาะกับผู้อื่น จนมองไม่เห็นหัวเจ้านาย เถียงเจ้านายตลอด เมื่อไม่เห็นด้วยก็คัดค้าน และใส่อารมณ์เต็มที่ ใช้อำนาจข่มขู่ผู้อื่น ทั้งที่ใช้เสียงข่ม หรือข่มด้วยการบีบน้ำตา ซึ่งลูกน้องประเภทนี้ถือว่าเป็นพวกหัวรุนแรง เจ้านายมักไม่ชอบ ถึงจะเก่งมีความสามารถแค่ไหนเจ้านายก็รับไม่ได้อยู่ดี
ดังนั้น ลูกน้องที่ดี ควรมีการวางตัวที่พอดี ๆ และต้องมีความกระตือรือร้น สามารถแสดงความรู้สึก หรือความคิดเห็นของตนเองโดยไม่ใช้อารมณ์ มีเหตุมีผล ควบคุมอารมณ์ได้ดี มีความเคารพต่อเจ้านายและเพื่อนร่วมงาน สุดท้ายในฐานะลูกน้องหากเราพยายามปรับตัวเต็มที่แล้ว แต่เจ้านายก็ไม่เข้าใจเรา หรือเจอเจ้านายไม่ดี ก่อนจะลาออกต้องมองว่าสถานการณ์ต่าง ๆ ในองค์กรว่ามีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีหรือไม่ แต่ถ้าเกินเยียวยาก็ให้หาที่ทำงานใหม่

Three Key Survival Skills for New Business Owners

The first year of a new business is the toughest. It's the make-it-or-break-it year. The challenges a new business owner faces on a daily basis require three key survival skills: self-reliance, self-direction, and resilience. No matter how brilliant the business idea, without these three skills entrepreneurs risk failure.
  • Self-Reliance

It's a fact of life that every small business owner wears many hats to fill all functions: operations, sales, marketing, finance, human resources-even janitor and chief coffee-maker when needed. Unlike life in corporate America, where each employee has a specialized area of expertise, a new business owner must excel in all of the disciplines required to keep a small business running smoothly. The revenue drain of hiring employees can spell disaster for struggling new businesses.

Self-reliance means more than wearing many hats. It also means depending on self for motivation, discipline and decision making and accountability. The true entrepreneur doesn't need a cheering squad to keep going. The self-reliant business owner is highly skilled at "picking himself up by the boot straps." Without that all-important sense of self-reliance, critical decisions will be delayed and opportunities will be missed.

If you find yourself lacking self-reliance, do a total skills inventory to identify the gap that is holding your business back from prospering to your expectations. Rate yourself on a scale of one to four on each skill needed to run your business. Identifying which skills you are deficient in is the first step toward getting help to solve the problem.

  • Self-Direction

One of the toughest challenges for new business owners is strategic planning: the ability to plan for multiple contingencies to reduce risk of failure. The self-directed entrepreneur analyzes market conditions to anticipate setbacks and defines alternative revenue sources to avoid costly earnings slumps.

Equally important, the self-directed business owner should be efficient in executing daily, weekly and monthly activities crucial to maintaining a continual sales pipeline and revenue stream. A successful entrepreneur needs no supervisor to keep him on track.

Unfortunately, not many people excel at both strategic planning and day-to-day tactical efforts. If you are an entrepreneur who gravitates to "the big picture," daily and weekly task lists will help keep you on track toward your revenue goals. Invest in tools to minimize your busy work so that important data like customer contact information can be easily accessed, yet maintained with minimal effort.

On the flip side, highly detail-oriented business owners without a strategic plan suffer from lack of direction. Make time at least quarterly to consider questions like: "What could I do long-term to improve the efficiency of my operations?" or "What could I be doing differently to attract the kind of customers I prefer?"

  • Resiliency

While it is often true that persistence pays off, resiliency is a more essential skill to new business owners. Resiliency is the ability to change direction when needed. It is the 'bounce back" effect that is truly necessary to avoid business failure.

In business, change is constant:

* Economic conditions can reduce consumer spending

* Shifts in consumer tastes make your product out-of-date

* Improvements in technology make your inventory obsolete

Any or all of these things can mean increased competition and loss of market share for your business. You have to be prepared to deal with them--before they happen.

Those who lack resiliency fall victim to self doubt that all too often means the end of a promising new business. To increase resiliency, practice the old-fashioned skill of "getting back on the horse." When things don't work out as planned, do not stop to anguish over the situation. Immediately consider the best alternative actions to take. Take action as soon as possible. Even a less-than-perfect action plan will get you moving in a positive direction and avoid the stall of self doubt and despair.

A new business owner who builds up his or her self-reliance, self-direction and resiliency will greatly increase the odds of surviving that first year in business. And after the first year, your survival skills will ensure that you are well on your way to many more years of success. credit by Deborah Walker