เคล็ดในการเรียนสู่ความสำเร็จ

บทความนี้กล่าวถึงเรื่อง วิธีการเรียนอย่างไรให้ประสบความสำเร็จโดยเนื้อหาจะถูกแบ่งเป็นวิธีการเรียนในสองระดับชั้น ได้แก่ การเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษา และการเรียนในระดับมหาวิทยาลัย

มีใจความสำคัญ ดังต่อไปนี้

ระดับชั้นมัธยมศึกษา

1. ตั้งเป้าหมาย

เริ่มตั้งเป้าหมายว่า เราอยากจะเข้าคณะอะไร ในสถาบันการศึกษาแห่งไหน ซึ่งคณะและสถาบันการศึกษาดังกล่าวจะต้องเป็นสายวิชาที่เราชอบ เพราะถ้าเราได้เรียนในสิ่งที่เราชอบเราจะมีความสุขและประสบความสำเร็จได้อย่างไม่ยากเย็นนัก ฉะนั้น เมื่อตั้งเป้าหมายได้แล้วว่าจะเรียนที่ไหน หลังจากนั้นให้ไปเยี่ยมชมคณะและมหาวิทยาลัยด้วยตนเอง เพื่อซึมซับบรรยากาศและความรู้สึกต่าง ๆ ณ สถานที่แห่งนั้น พยายามจดจำภาพและความรู้สึกให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เมื่อภาพทุกภาพถูกตรึงเข้าไปในจิตใต้สำนึกของเรา สิ่งนี้จะเป็นพลังขับเคลื่อนให้เราเกิดกำลังใจในการอ่านหนังสือ และจะเป็นตัวที่คอยเตือนให้เรามีสติรู้ว่า ตอนนี้เป้าหมายที่สำคัญที่สุดในชีวิตคืออะไร ตอนนี้เราควรทำสิ่งใดและไม่ควรทำสิ่งใด นอกจากนั้น นักเรียนที่เตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัยจะต้องมีความมุ่งมั่นและตั้งจิตว่าจะต้องเข้าไปเรียนมหาวิทยาลัยดังกล่าวให้ได้เมื่อมีเป้าหมายที่ชัดเจนและแน่นอนตรึงอยู่ในใจแล้ว ให้เริ่มตั้งใจอ่านหนังสือด้วยความมุ่งมั่นและทุ่มเท รวมสมาธิทั้งหมดลงสู่เรื่องเรียนอย่างเดียว เรื่องอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องความรักจะต้องพักเอาไว้ก่อน มิฉะนั้น จิตใจเราจะวอกแวกว้าวุ่น สมาธิจะแตก ห่วงหน้าพะวงหลัง ทำให้อ่านหนังสือไม่รู้เรื่อง และจะทำให้สอบเข้ามหาวิทยาลัยไม่ได้ในที่สุด

2. ศึกษาแนวข้อสอบ

ศึกษาแนวข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัยย้อนหลังสิบปี ลองฝึกทำและวิเคราะห์ดูว่าเราถนัดและไม่ถนัดเรื่องไหนบ้าง เพื่อจะรู้ว่าความสามารถที่แท้จริงของเรานั้นอยู่ในระดับไหน ยังต้องปรับปรุงในส่วนใดอีกบ้าง และควรเริ่มทำในเรื่องเรื่องที่ยากและสำคัญที่สุดก่อน

3. ให้ความสำคัญกับวิชาหลักของคณะที่เราจะสอบเข้า

ให้สนใจและให้ความสำคัญที่วิชาหลักของคณะที่เราจะสอบเข้า เช่น คณะบริหารธุรกิจให้เน้นที่วิชาเลขและวิชาภาษาอังกฤษ เป็นต้น โดยวิชาดังกล่าวนั้น เราจะต้องทำคะแนนให้ได้มากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ จึงจะมีโอกาสสูงในสอบติด

4. เรียนพิเศษเสริมในโรงเรียนกวดวิชา

เลือกเรียนพิเศษในโรงเรียนกวดวิชาดี ๆ เพราะคุณครูตามโรงเรียนกวดวิชานั้นจะมีการศึกษาและวิเคราะห์ข้อสอบมาเป็นอย่างดีแล้ว พร้อมกับการมีเทคนิคต่าง ๆ ในการสอนและในการทำข้อสอบ ทำให้เรียนแล้วไม่น่าเบื่อ และยังช่วยให้เราทำข้อสอบได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว นอกจากนั้น การเรียนในโรงเรียนกวดวิชาจะทำให้เรามีความกระตือรือร้นในการเรียนมากขึ้น เพราะบรรยากาศเอื้ออำนวยให้เรียน เนื่องจากนักเรียนที่ไปเรียนในโรงกวดวิชานั้น ส่วนใหญ่มักเป็นเด็กที่มีความขวนขวายในการศึกษาเล่าเรียน และมีความมุ่งมั่นที่จะต้องสอบเข้ามหาวิทยาลัยให้ได้ จึงทำให้บรรยากาศนั้นน่าเรียนตามไปด้วย อย่างไรก็ตาม การเรียนในโรงเรียนย่อมมีความสำคัญด้วยเช่นเดียวกันเพราะเป็นการสอนตั้งแต่ระดับพื้นฐานเพื่อช่วยในการนำไปต่อยอดความรู้จากสถาบันกวดวิชาต่อไป

5. สรุปเนื้อหาความรู้ของแต่ละวิชา

ทบทวนและสรุปเนื้อหาความรู้ต่าง ๆ ที่ได้ร่ำเรียนมาจากทั้งในโรงเรียนและสถาบันกวดวิชา โดยการถามตัวเองว่า แก่นความรู้ของวิชานี้อยู่ตรงไหน เนื้อหาสำคัญมีอะไรบ้าง มีประเด็นใดที่เราต้องศึกษาเพิ่มเติม เราเข้าใจถ่องแท้แล้วหรือยัง และเราจำอะไรได้บ้าง เป็นต้น การสรุปเนื้อหาคือ การคุยกับตัวเองและเขียนสรุปประเด็นออกมาเป็นข้อ ๆ เพื่อทำให้เราเห็นตนเองชัดขึ้น จะได้ไม่เกิดความท้อในการอ่านหนังสือ เพราะเมื่อเขียนออกแล้วเราจะรู้ว่าสิ่งใดควรอ่านบ้างและมีมากน้อยเพียงใด ซึ่งบางครั้งอาจจะไม่มากอย่างเราคิดไว้ก็ได้

6. สวดมนต์เพื่อสร้างกำลังสมาธิ

กำลังสมาธิจะช่วยให้เราสามารถเข้าใจเนื้อหาได้อย่างง่ายดาย จดจำข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว สามารถตอบคำถามได้อย่างตรงประเด็น และอ่านเท่าไรก็ไม่เหนื่อย ฉะนั้น กำลังสมาธิจึงเป็นสิ่งสำคัญมากเพราะการพยายามจดจำข้อมูลมากมายในระยะเวลาที่จำกัด หากไม่มีกำลังสมาธิเพียงพอคงจะทำได้ยาก หรืออาจจะต้องเสียเวลามากจนเกินไป

ระดับมหาวิทยาลัย

1. ตั้งเป้าหมาย

ตั้งเป้าหมายว่าเราจะต้องคว้าเกียรตินิยมมาให้ได้สิ่งนี้สำคัญมากเพราะการได้เกรดเฉลี่ยดี ๆ จะช่วยให้นักศึกษาสามารถเรียนต่อ และหางานได้ง่ายขึ้น นอกจากนั้น นักศึกษาจะต้องตระหนักอยู่ในใจเสมอว่า การเรียนเก่งจะทำเราได้รับการยอมรับจากสังคม หางานง่าย และเป็นเกียรติประวัติติดตัวตลอดกาล ฉะนั้น นักศึกษาจึงไม่ควรลงเรียนในรายวิชาที่เนื้อหามีความยากจนเกินไป หรือในกรณีที่คุณครูผู้สอนถ่ายทอดความรู้ไม่เก่ง ทำให้เรียนเข้าใจยาก และถึงแม้ว่าอาจารย์คนนั้นจะเก่งแค่ไหนก็ตาม วิชานี้ก็ไม่ควรเลือกที่จะลงเรียนเพราะอาจทำให้เรียนไม่จบหรือได้คะแนนไม่ดี อย่างไรก็ตาม หากเป็นวิชาบังคับเลือกไม่ได้ นักศึกษาจะต้องตั้งใจเรียนให้มากขึ้น หมั่นทบทวนวิชาความรู้ และปรึกษาอาจารย์ผู้สอนหากมีเนื้อหาที่ไม่เข้าใจ เป็นต้น

2. เห็นข้อดีของการตั้งใจเรียน

การตั้งใจเรียนจะเป็นการสร้างระเบียบวินัยในชีวิต ถ้าสังเกตให้ดี จะพบว่า คนที่เรียนเก่งประสบความสำเร็จมักจะมีระเบียบวินัย มีความรับผิดชอบ รู้ว่าควรทำอะไร เมื่อไหร่และอย่างไร ฉะนั้น การตั้งใจเรียนให้ประสบความสำเร็จนอกจากจะได้เกรดเฉลี่ยสูง ๆ แล้ว ยังจะเป็นการช่วยสร้างนิสัยที่ดีได้ด้วย ฉะนั้น ช่วงเวลาสี่ปีในรั้วมหาวิทยาลัยจะเป็นสี่ปีแห่งการค้นหาตัวเองว่า แท้จริงแล้วเราชอบอะไรกันแน่ เมื่อเรียนจบแล้วเราอยากทำอาชีพอะไร ยิ่งเราค้นพบตัวเองได้เร็วเท่าไร เราจะยิ่งมีความสุขในการเรียนมากยิ่งขึ้น ทุก ๆ วันที่ผ่านไปจะเสมือนการก้าวข้ามสะพาน ซึ่งจะนำพาเราไปถึงเป้าหมายที่เราใฝ่ฝันไว้ เราจะเกิดความกระตือรือร้นในการเรียนมากขึ้นไปอีก เมื่อนั้นผลการเรียนย่อมดีขึ้นตามไปด้วยอย่างแน่นอน

3. ตั้งเป้าหมายว่าจะต้องไปเรียนต่อต่างประเทศให้ได้

การเรียนต่อต่างประเทศมีข้อดีมากมาย นอกจากจะเป็นการเปิดโลกทัศน์ให้กับตัวเองแล้ว เรายังสามารถนำความรู้ที่ทันสมัยมาพัฒนาประเทศชาติต่อไปได้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม หากเราขาดแคลนทุนทรัพย์ในการจะไปเรียนต่อต่างประเทศ เรายิ่งจะต้องตั้งใจเรียนมากขึ้น และพยายามชิงทุนการศึกษาเพื่อไปเรียนต่อต่างประเทศให้ได้

4. สวดมนต์เพื่อสร้างกำลังสมาธิ

กำลังสมาธิจะช่วยให้เราเรียนรู้ได้รวดเร็ว มีความจำดี เรียนได้โดยไม่เครียด และประหยัดเวลาในการจดจำและทบทวนบทเรียน ทำให้เราสามารถใช้เวลาที่เหลือไปทำกิจกรรมอื่น ๆ ได้อีกด้วย

5. ตั้งใจเรียน เข้าเรียนสม่ำเสมอ และหมั่นทบทวนเนื้อหาเป็นประจำ

ขณะที่เรียนเราควรพยายามสร้างมโนภาพตามเนื้อหาที่อาจารย์สอน แล้วสรุปเนื้อหาออกมาเป็นประเด็น ๆ จดเป็นคำหลัก ๆ 2-3 คำ หลังจากนั้น ให้นำข้อมูลดังกล่าวมาประมวลอย่างเป็นระบบโดยให้สรุปเป็นประเด็นสำคัญโดยการคุยกับตัวเองว่า วันนี้เราเรียนอะไรไป ประเด็นหลักคืออะไร และให้เขียนออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งการสรุปเนื้อหานี้อาจทำวันต่อวันหรือสัปดาห์ละครั้งก็ได้

6. ปลูกฉันทะในการเรียน

พยายามบอกตัวเองว่า เรามาเรียน เพื่อนำวิชาความรู้ไปประกอบอาชีพ และเพื่อไปเรียนต่อเมืองนอก ฉะนั้น เราจะต้องตั้งใจเรียนต่อไป เมื่อมีเป้าหมายที่ชัดเจนรู้ว่า เรากำลังทำอะไรอยู่ และทำไปเพื่ออะไร เราจึงจะเรียนอย่างมีความสุข และในขณะที่เรียน ให้หมั่นถามตัวเองว่า วิชาที่เรากำลังเรียนอยู่นี้ มีเนื้อหาเหมือนกับที่เราเคยรู้มาหรือไม่ หรือขัดแย้งกับความรู้เดิม หรือเป็นความรู้ใหม่ เป็นต้น เพื่อหัดให้ตนเองรู้จักการฝึกคิดพิจารณาและวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งทักษะนี้สามารถนำไปใช้ในการทำงานในอนาคตได้อีกด้วย

7. หัดเดาข้อสอบ

ลองจินตนาการว่า ถ้าเราเป็นครู เราน่าจะออกข้อสอบอะไร และในขณะที่ทบทวนบทเรียนอยู่นั้น หากเนื้อหาใดที่ไม่เข้าใจ ควรไปหาความรู้เพิ่มเติมหรือสอบถามอาจารย์ผู้สอนอีกครั้ง

8. เลือกทบทวนบทเรียนในช่วงเวลาที่ร่างกายและจิตใจเรามีความพร้อมมากที่สุด

ช่วงเวลาของแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน บางคนถนัดในการอ่านหนังสือตอนกลางคืนมากกว่าตอนเช้าตรู่ เป็นต้น ฉะนั้น เราต้องสังเกตว่าช่วงเวลาใดเป็นช่วงที่เหมาะกับเรามากที่สุด

9. อย่าเรียนมากนัก

การเรียนมากกว่าคนอื่นบางทีก็มิได้เป็นตัวตัดสินว่า เราเก่งกว่าผู้อื่น เพราะในความเป็นจริงแล้ว ความรู้ย่อมมิได้มีอยู่เพียงแค่ในตำราเท่านั้น การเรียนมากเกินไปจะทำให้คิดไม่เป็น เพราะจะเน้นท่องจำอย่างเดียว ฉะนั้น การเรียนที่ถูกต้องคือ เมื่อเรียนแล้วจะต้องกลับไปทบทวนและนำความรู้ต่างมาขบคิดพิจารณาด้วย

10. ฝึกภาษาอังกฤษให้แตกฉาน

ทั้งการพูด การฟัง การอ่าน และการเขียน เพราะความรู้ในปัจจุบัน มักมาจากตำราภาษาอังกฤษ ฉะนั้น หากเรามีความเชี่ยวชาญในการใช้ภาษาย่อมเป็นการดี และสิ่งนี้จะช่วยให้เราได้มีโอกาสไปเรียนต่อต่างประเทศ หรือได้ทำงานในบริษัทต่างชาติชั้นนำอีกด้วย

Three Key Survival Skills for New Business Owners

The first year of a new business is the toughest. It's the make-it-or-break-it year. The challenges a new business owner faces on a daily basis require three key survival skills: self-reliance, self-direction, and resilience. No matter how brilliant the business idea, without these three skills entrepreneurs risk failure.
  • Self-Reliance

It's a fact of life that every small business owner wears many hats to fill all functions: operations, sales, marketing, finance, human resources-even janitor and chief coffee-maker when needed. Unlike life in corporate America, where each employee has a specialized area of expertise, a new business owner must excel in all of the disciplines required to keep a small business running smoothly. The revenue drain of hiring employees can spell disaster for struggling new businesses.

Self-reliance means more than wearing many hats. It also means depending on self for motivation, discipline and decision making and accountability. The true entrepreneur doesn't need a cheering squad to keep going. The self-reliant business owner is highly skilled at "picking himself up by the boot straps." Without that all-important sense of self-reliance, critical decisions will be delayed and opportunities will be missed.

If you find yourself lacking self-reliance, do a total skills inventory to identify the gap that is holding your business back from prospering to your expectations. Rate yourself on a scale of one to four on each skill needed to run your business. Identifying which skills you are deficient in is the first step toward getting help to solve the problem.

  • Self-Direction

One of the toughest challenges for new business owners is strategic planning: the ability to plan for multiple contingencies to reduce risk of failure. The self-directed entrepreneur analyzes market conditions to anticipate setbacks and defines alternative revenue sources to avoid costly earnings slumps.

Equally important, the self-directed business owner should be efficient in executing daily, weekly and monthly activities crucial to maintaining a continual sales pipeline and revenue stream. A successful entrepreneur needs no supervisor to keep him on track.

Unfortunately, not many people excel at both strategic planning and day-to-day tactical efforts. If you are an entrepreneur who gravitates to "the big picture," daily and weekly task lists will help keep you on track toward your revenue goals. Invest in tools to minimize your busy work so that important data like customer contact information can be easily accessed, yet maintained with minimal effort.

On the flip side, highly detail-oriented business owners without a strategic plan suffer from lack of direction. Make time at least quarterly to consider questions like: "What could I do long-term to improve the efficiency of my operations?" or "What could I be doing differently to attract the kind of customers I prefer?"

  • Resiliency

While it is often true that persistence pays off, resiliency is a more essential skill to new business owners. Resiliency is the ability to change direction when needed. It is the 'bounce back" effect that is truly necessary to avoid business failure.

In business, change is constant:

* Economic conditions can reduce consumer spending

* Shifts in consumer tastes make your product out-of-date

* Improvements in technology make your inventory obsolete

Any or all of these things can mean increased competition and loss of market share for your business. You have to be prepared to deal with them--before they happen.

Those who lack resiliency fall victim to self doubt that all too often means the end of a promising new business. To increase resiliency, practice the old-fashioned skill of "getting back on the horse." When things don't work out as planned, do not stop to anguish over the situation. Immediately consider the best alternative actions to take. Take action as soon as possible. Even a less-than-perfect action plan will get you moving in a positive direction and avoid the stall of self doubt and despair.

A new business owner who builds up his or her self-reliance, self-direction and resiliency will greatly increase the odds of surviving that first year in business. And after the first year, your survival skills will ensure that you are well on your way to many more years of success. credit by Deborah Walker